วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คุณลักษณะของครูปฐมวัย

ที่ผ่านมาหลายคน หลายฝ่ายล้วนมีแนวคิดที่ค่อนข้างตรงกันว่า...การศึกษาปฐมวัย...นับเป็นการวางฐานรากของการพัฒนาคนที่ยั่งยืน เพราะหากเด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาที่สมดุลครบ ๔  ด้าน ก็จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้  เพิ่มพูนมวลประสบการณ์ ได้รับการแต่งแต้มให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความสมบูรณ์ รอบคอบทางความคิด มีการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงน้อยที่ดต่อกระบวนการทำงานให้เกิดผลที่มี คุณภาพ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาตัวตนของเขาเพื่อการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้ เหมาะสมต่อไป
จาก"ข้อคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัย"  โดย..ผอ.อำนวย  พุทธมี ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ  "การสร้างเด็กปฐมวัย : สร้างชาติ" ให้ข้อคิดว่า  "เด็กที่มีความอดทนรอคอย หรือ การปฏิบัติตนตามกติกาของสังคมที่ร่วมกันวางไว้ จะทำให้เด็กปะสบผลสำเร็จมากกว่าเด็กที่ไม่มีความอดทน"  โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย  ดังนี้
               -  เด็กปฐมวัย
               -  ครูผู้สอนปฐมวัย
               -  ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
               -  ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
               -  การจัดหลักสูตร
               -  การบริหารจัดการ
ทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย ที่จะส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนารอบด้านอย่างสมดุล ...แต่สำหรับความ เห็นส่วนตัวประกอบกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีพัฒนาการเด็กปฐมวัย และคุณลักษณะตามวัยรวมถึงทฤษฎีพัฒนาการการเรียนรู้  พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้ที่มีพฤติกรรมการเลียนแบบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ  "ครูผู้สอนปฐมวัย"  เพราะครูจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการการเลียนแบบพฤติกรรมจากครูของเด็กมาก  เพราะครูเป็นผู้ที่จะต้องคอยหล่อหลอม ขัดเกลา ลบเหลี่ยมมุมที่บิดเบี้ยวของเด็กที่ได้ซึมซับ รับรู้ เรียนรู้จากครอบครัวและสภาพแวดล้อมเด็กที่แตกต่างของแต่ละคน  ให้ได้รูปทรง ที่สวยงามตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.๒๕๔๖ จึงค่อนข้างเห็นด้วยกับการเปรียบเทียบให้ครูปฐมวัยมีลักษณะลักษณะพิเศษที่ดี ของสัตว์  ๔ ชนิด....เหล่านี้
***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน  "ผึ้ง"  ซึ่งมีคุณลักษณะที่ ขยัน เพราะครูปฐมวัยจะต้อง  ขยันพัฒนาตนเอง พัฒนานวัตกรรม  พัฒนาเทคนิควิธีการ  ทำงานเป็นทีมอยางมีระบบ
***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน "เหยี่ยว"  ซึ่งมีสายตาที่กว้างไกล  มีกรงเล็บที่แข็งแรง  มีทวงท่าในการกางปีกโบยบินที่โฉบเฉี่ยวที่สง่างาม  มั่นคง ซึ่งเป็นการบ่งบอกของความเป็นครูมืออาชีพ
***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน  "นกฮูก" ที่มีความสุขุมลุ่มลึก  สงบ เยือกเย็น รอบคอบ
***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน  "แรด"  ที่มีความอดทน  แข็งแรง บากบั่น ไม่ท้อถอย
สรุปว่า..ครูปฐมวัย... ต้องเป็นผู้ที่ขยัน  อดทน  อดกลั้น  สงบ  มีสมาธิดี  รักและ เอื้ออาทร  ไม่ท้อแท้  มุ่งมั่น  บากบั่น ช่วยเหลือตนเองและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทันสมัยอยู่เสมอ....ที่สำคัญ ต้องเชื่อมั่นว่า  "เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้".......

http://www.oknation.net/blog/wika/2009/10/27/entry-1

30 วิธีแสนง่ายในการเลี้ยงลูกให้ฉลาด

30 วิธีแสนง่ายในการเลี้ยงลูกให้ฉลาด

30 วิธีง่ายๆ ต่อไปนี้อาจช่วยขยายไอเดียของคุณ ๆ ได้ หากลูกคุณยังไม่ได้ดั่งใจ แต่อย่างใดก็ตามเด็กก็คือเด็ก เป็นผ้าขาวของสังคม เราต้องเข้าใจธรรมชาติของเขา ก่อนที่จะไปเปลี่ยนแปลงให้เขาเป็นในสิ่งที่เราอยากให้เป็น วิธีต่างๆ เหล่านี้ผ่านการวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลอง และสรุปผลมาแล้วจากนักวิชาการว่าใช้ได้ผลดีมาแล้วทั่วโลก

 1.ตามองตา 
เมื่อลูกลืมตาตื่นขึ้นให้เรามองหน้าสบสายตาหนูน้อยสักครู่ หนูน้อยแรกเกิดจดจำใบหน้าของคนได้เป็นสิ่งแรกเสมอ และใบหน้าของพ่อแม่คือใบหน้าแรกที่ลูกอยากจะจดจำ ซึ่งแต่ละครั้งที่หนูน้อยจ้องมองใบหน้าของเรา สมองก็จะบันทึกความทรงจำไว้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วย
 2.พูดต่อสิลูก
เวลาพูดกับลูกเว้นช่องว่างในช่วงคำง่าย ๆ ที่ลูกจะสามารถพูดต่อได้ เช่น พยางค์สุดท้ายของคำหรือคำสุดท้ายของประโยค ในช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะเงียบและทำหน้างง แต่ในที่สุดถ้าทำอย่างนี้บ่อย ๆ ในประโยคซ้ำ ๆ ลูกจะค่อย ๆ จับจังหวะ จับคำพูดบางคำได้ และเริ่มพูดต่อในช่วงว่างที่พ่อแม่หยุดไว้ให้
 3.ฉลาดเพราะนมแม่ 
ให้นมแม่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลการศึกษาในเด็กวัยเรียนพบว่า เด็กที่กินนมแม่ตอนที่เป็นทารกมักจะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ นอกจากนี้การให้นมลูกยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อย
 4. ทำตลกใส่ลูก 
แม้กระทั่งเด็กน้อยอายุเพียงแค่ 2 วัน ก็มีความสามารถเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าอย่างง่าย ๆ ของพ่อแม่ได้ ไม่เชื่อลองแลบลิ้นหรือทำหน้าตาตลกๆใส่ลูกคุณจะทำตามแน่ๆ
 5.กระจกเงาวิเศษ 
ทารกน้อยเกือบทุกคนชอบส่องกระจก เขาจะสนุกที่ได้เห็นเงาของตัวเองในกระจกโบกมือหรือยิ้มแย้มหัวเราะตอบออกมาทุกครั้ง
 6.จั๊กจี้ จั๊กจี้
การหัวเราะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านอารมณ์ขัน การเล่นปูไต่ทำให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการคาดเดาเหตุการณ์ด้วยว่า ถ้าพ่อแม่เล่นอย่างนี้แสดงว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ปูจะไต่จากไหนไปถึงไหนเป็นต้น
 7.สองภาพที่แตกต่าง 
ถือรูปภาพ 2 รูป ที่คล้ายกันให้ลูกมอง โดยวางให้ห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เช่น ภาพรูปบ้านที่เหมือนกันทั้งสองรูป แต่อีกรูปหนึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ข้างบ้าน แม้ยังเป็นเด็กทารกแต่เขาสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างนี้ได้ เป็นการสร้างความจำที่จะเป็นพื้นฐานในการจดจำตัวอักษรและการอ่านสำหรับลูกต่อไป
 8.ชมวิวด้วยกัน
พาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และบรรยายสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง เช่น โอ้โหต้นไม้ต้นนี้มีนกเกาะอยู่เต็มเลย ดูสิลูกบนนั้นมีนกด้วย การบรรยายสิ่งแวดล้อมให้ลูกฟังสร้างโอกาสการเรียนรู้คำศัพท์ให้กับลูก
 9.เสียงประหลาด 
ทำเสียงเป็นสัตว์ประหลาด คุ๊กคู ๆ หรือทำเสียงสูง ๆ เลียนแบบเสียงเวลาที่เด็ก ๆ พูด ทารกน้อยจะพยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงต่าง ๆ จากพ่อแม่
 10.ร้องเพลงแสนหรรษา 
สร้างเสียงและจังหวะส่วนตัวระหว่างเราและลูกน้อยขึ้นมา เช่น เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ก็ร้องเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก อาจจะเป็นกลอนสั้น ๆ แล้วใส่เสียงสูงต่ำแบบการร้องเพลงเข้าไป หรืออีกทางคือเปิดเพลงชนิดต่าง ๆ ให้ลูกฟังบ้าง เช่น บางวันอาจจะเป็นลูกทุ่ง บางวันเป็นเพลงบรรเลง หรือเพลงป๊อปยอดฮิตทั่วไป มีนักวิจัยค้นพบว่า จังหวะดนตรีเกี่ยวพันกับการเรียนรู้คณิศาสตร์ของลูก
11.มีค่ามากกว่าแค่อาบน้ำ
เวลาในการอาบน้ำสอวนให้ลูกรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำ การบรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่ากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไปเท่ากับเป็นการสอน คำศัพท์ และช่วยให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันไปในตัว
 12.อุทิศตัวเป็นของเล่น 
ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเล่นราคาแพงไว้ให้ลูกบริหารร่างกาย เพียงแค่คุณพ่อหรือคุณแม่นอนราบลงไปบนพื้น และปล่อยให้หนูพยายามคลานข้ามตัวไป แค่นี้ร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ก็จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นที่ราคาถูกที่สุด และสนุกที่สุดสำหรับหนูน้อยได้พัฒนากล้ามเนื้อให้ทำงานสัมพันธ์ และเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาไปพร้อมกัน
 13.พาลูกไปช็อปปิ้ง 
นาน ๆ ครั้งพาลูกน้อยไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตด้วยก็ไม่เสียหาย ใบหน้าผู้คนอันหลากหลาย รวมถึงแสง สี เสียง ในห้างสรรพสินค้า คือ สิ่งบันเทิงใจสำหรับหนูน้อยเชียวล่ะ
 14.ให้ลูกมีส่วนร่วม 
พยายามให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจวัตรต่าง ๆ เช่น ถ้ากำลังจะปิดไฟก็อาจจะบอกลูกว่า แม่กำลังจะปิดแล้วนะ เสร็จแล้วจึงกดปิดสวิชต์ไฟ นี่จะเป็นการสอนให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุและผล ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าเมื่อคุณแม่กดสวิชต์ หลอดไฟจะปิดเป็นต้น
 15.เสียงและสัมผัสจากลมหายใจ
ช่วยให้ลูกน้อยกระปรี้กระเปร่าขึ้นด้วยการเป่าลมเบา ๆ ไปตาม ใบหน้า มือ แขน หรือท้องของลูก หาจังหวะในการเป่าของตัวเอง เช่น เป่าเร็ว ๆ สลับกับช้า หรือเป่าแล้วตามด้วยเสียงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของคุณพ่อคุณแม่ แล้วรอดูปฏิกริยาตอบสนองจากลูก
 16.ทิชชู่หรรษา 
ถ้าลูกชอบดึงกระดาษทิชชู่ออกจากม้วน ปล่อยเขาค่ะ อย่าห้าม แต่อาจใช้กระดาษทิชชู่ม้วนที่เราใช้ไปพอสมควรแล้ว จนเหลือกระดาษอยู่เพียงเล็กน้อย เพราะการที่เด็กน้อยได้ขยำหรือขยี้กระดาษให้ยับย่น หรือพับให้เรียบนั้นเป็นการฝึกประสาทสัมผัสและการใช้มือของลูกเป็นอย่างดี
 17.อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
การอ่าน หนังสือช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องภาษาได้จริง ๆ มีผลการวิจัยออกมาว่า แม้กระทั่งเด็กอายุ 8 เดือน สามารถเรียนรู้จดจำการเรียงลำดับคำในประโยคที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังซ้ำ 2-3 ครั้งได้ ดังนั้น ควรจัดเวลาในแต่ละวันอ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ
 18.เล่นซ่อนหาจ๊ะเอ๋ 
การเล่นจ๊ะเอ๋นี้นอกจากจะทำให้ลูกหัวเราะแล้ว ยังช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าเมื่อสิ่งของหายไปแล้วสามารถกลับคืนมาได้อีก
 19.สัมผัสที่แตกต่าง 
หาสิ่งของที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ไม้ หรือผ้าฝ้าย ค่อย ๆ นำพื้นผิวแต่ละอย่างไปสัมผัสแก้ม เท้า หรือท้องลูกเบา ๆ ระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็บรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่าความรู้สึกเมื่อถูกสัมผัส เป็นอย่างไร เช่น นี่จั๊กจี้นะลูก ส่วนอันนี้นุ๊ม นุ่ม ใช่ไหม เป็นต้น
 20.ให้ลูกผ่อนคลายและอยู่กับตัวเองบ้าง
ให้ เวลาประมาณ 5-10 นาที ในแต่ละวัน นั่งเงียบ ๆ สบาย ๆ กับลูกน้อยบนพื้นบ้าน ไม่ต้องเปิดเพลง เปิดไฟ หรือเล่นอะไรกัน ปล่อยให้ลูกได้สำรวจสิ่งต่าง ๆ ตามใจชอบ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องไปยุ่งกับลูกเลยและรอดูว่าใช้เวลาสักเท่าไรหนูน้อยจึงจะ คลานมาขอเล่นกับคุณพ่อคุณแม่อีกครั้ง นี่เป็นการฝึกความเป็นตัวของตัวเองให้ลูกขั้นแรก
 21.ทำอัลบั้มรูปครอบครัว
นำรูป ภาพของญาติ ๆ มาใส่ไว้ในอัลบั้มเดียวกัน และนำออกมาให้ลูกดูบ่อย ๆ เพื่อให้จดจำชื่อญาติแต่ละคน แล้วเวลาที่คุณปู่ หรือคุณย่าโทรศัพท์มา ก็นำรูปท่านออกมาให้ลูกดูพร้อมกับที่ให้ลูกฟังเสียงของท่านจากโทรศัพท์ไปด้วย
 22.มื้ออาหารแสนสนุก 
เมื่อถึงเวลาที่ลูกสามารถกินอาหารเสริมที่หลากหลายมากขึ้นได้แล้ว อย่าลืมจัดอาหารของลูกให้มีชนิด ขนาดและพื้นผิวที่หลากหลาย เช่น มีทั้งผลไม้ชิ้นเล็ก เส้นพาสต้า มักกะโรนี หรือซีเรียล ปล่อยให้ลูกน้อยใช้มือจับอาหารถ้าลูกอยากทำ เป็นการฝึกใช้นิ้ว และฝึกใช้ประสาทสัมผัสเมื่อได้สัมผัสกับอาหารที่มีลักษณะแตกต่างกัน
 23.เด็กชอบทิ้งของ 
บางครั้งดูเหมือนเด็กชอบทิ้งของลงพื้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า พฤติกรรมนี้เกิดจากเด็กทดสอบเรื่องแรงโน้มถ่วงว่าจะตกลงสู่พื้นทุกครั้งหรือไม่
 24.กล่องมายากล
หากล่อง หรือตลับที่เหมือนกันมาสักสามอัน แล้วซ่อนของเล่นชิ้นโปรดของลูกไว้ในกล่องใบหนึ่ง สลับกล่องจนลูกจำไม่ได้ แล้วให้ลูกค้นหาของเล่นชิ้นนั้นจนเจอ นี่เป็นเกมฝึกสมองอย่างง่ายสำหรับเด็ก
25.สร้างอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ
กระตุ้น ทักษะการทำงานของกล้ามเนื้อให้ลูก โดยนำเบาะ โซฟา หมอน กล่อง หรือของเล่นวางขวางไว้บนพื้น แล้วพ่อแม่ก็แสดงวิธีคลานข้าม ลอด หรือคลานรอบ ๆ สิ่งกีดขวางเหล่านี้ได้อย่างไร
26.เลียนแบบลูกบ้าง
เด็ก ชอบให้พ่อแม่ทำอะไรตามเขาในบางครั้ง เช่น เลียนแบบท่าหาวของลูก แกล้งดูดขวดนมของลูก ทำเสียงเลียนแบบเวลาที่ลูกส่งเสียงอ้อแอ้ หรือคลานในแบบที่ลูกคลาน การทำอย่างนี้กระตุ้นให้ลูกแสดงกิริยาท่าทางต่างๆออกมาเพราะอยากเห็นปฏิกิริยาตอบสนองของพ่อแม่ นี่คือก้าวแรกของลูกสู่การมีความคิดสร้างสรรค์
27.จับใบหน้าที่แปลกไป 
ลองทำหน้าตาแปลก ๆ เช่น ขมวดคิ้ว แยกเขี้ยว แลบลิ้นให้ลูกดู เวลาลูกเห็นพ่อแม่ทำหน้าตาตลก หนูน้อยจะอยากลองจับ ปล่อยให้ลูกได้ลองจับต้องใบหน้าของพ่อแม่ แล้วสร้างเงื่อนไขบางอย่างขึ้นมา       เช่นถ้าลูกจับจมูกจะทำเสียงแบบนี้ ถ้าจับแก้มจะทำเสียงอีกแบบหนึ่ง ทำแบบนี้ 3-4 รอบ แล้วจึงเปลี่ยนเงื่อนไขไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ลูกแปลกใจ
28.วางแผนคลานตามกัน 
ลองคลานเล่นไปกับลูกให้ทั่วบ้าน คลานช้าบ้าง เร็วบ้างและหยุดหรือพ่อแม่อาจจะวางของเล่นที่น่าสนใจ หรือจัดบ้านในบางมุมให้แปลกไปก่อนที่จะมาคลานเล่นกับลูกเพื่อไปสำรวจตามจุด ต่าง ๆ ที่จัดไว้ตามแผน
29.เส้นทางแห่งความรู้สึก
อุ้มลูก น้อยเดินไปทั่วบ้านในวันฝนตก จับมือลูกไปสัมผัสหน้าต่างที่เย็นชื้น หยดน้ำที่เกาะบนใบไม้ ต้นไม้ หรือสิ่งของอื่น ๆ ในบ้านที่จับต้องได้อย่างปลอดภัย เป็นการเปิดประสาทสัมผัสของลูกสู่ความรู้สึกต่างๆ เมื่อได้แตะต้องสิ่งของเย็น เปียก หรือความลื่น
30.เล่าเรื่องของลูก
เลือกนิทานเรื่องโปรดของลูก แต่แทนที่จะเล่าอย่างที่เคยเล่า ลองใส่ชื่อของลูกลงไปแทนที่ชื่อตัวละครตัวสำคัญของเรื่อง เพื่อให้หนูน้อยรู้สึกแปลกใจและสนุกสนานไปกับชื่อของตัวเองในนิทาน

ที่มา http://women.kapook.com/baby00087/

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หนูก็ "เครียด" เป็นนะ



ตัวแค่นี้ ทำไมถึง "เครียด"
ในทางจิตวิทยานั้น สภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ เกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ คือ
*ความเครียดที่เกิดจากพัฒนาการของเด็กเอง เพราะเป็นวัยที่ต้องการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก จากที่เคยนอนแบเบาะทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ เมื่อต้องการอะไรก็ต้องรอให้ผู้ใหญ่ตอบสนองให้ กลับค่อยๆ พัฒนามาเป็นการสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันสมองก็เริ่มมีความคิดเป็นเหตุเป็นผล เริ่มเชื่อมโยงกับการกระทำได้ รวมถึงด้านภาษาก็มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเด็กรู้สึกถึงพลังความสามารถของตัวเอง
และ มี nagativerism เหมือนดื้อ ทำตรงกันข้าม และขณะเดียวกันก็มีสภาวะความผูกพันระหว่างแม่หรือผู้เลี้ยงดูค่อนข้างมาก เช่น เด็กยังมีความรู้สึกว่าถ้าแม่ไม่อยู่แปลว่าหายไป หลับตาแปลว่าแม่หายไป ด้วยความที่ยังไม่เข้าใจถึงความคงอยู่ของสิ่งของว่าเป็นอย่างไร ทำให้เขาติดและตามแม่อยู่ตลอดเวลา วิตกกังวลเรื่องการพลัดพรากสูง จนบางครั้งแม่จะรู้สึกว่าลูกงอแง ดื้อ นอกจากนั้นวัยนี้ยังมีอารมณ์ "อิจฉา" ชัดเจน (และจะหายไปในช่วงอายุประมาณ 5 ปี) หรือความกลัวโดยไร้สาเหตุ
สิ่ง ที่เป็นความเครียดของเด็กวัยนี้สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ สิ่งที่ตัวเองต้องการแต่ไม่ได้ถูกตอบสนอง สิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการแต่ถูกยัดเยียด หรือตัวเองอยากได้ทั้งหมดแต่ถูกกำหนดให้เอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่อยากได้เลยทั้งสองอย่าง เช่น ไม้เรียวก็ไม่เอา ยาก็ไม่อยากกิน แต่ถูกบังคับให้เอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

*เกิดจากความรู้สึกภายในใจของตนเอง (ระหว่างศีลธรรมจรรยากับสิ่งที่ตัวเองต้องการ) เช่น เขาถูกแม่ดุ รู้สึกโกรธแม่ อันนี้เป็นความปรารถนาร้ายต่อแม่ แต่ขณะเดียวกันศีลธรรมจรรยาที่มีอยู่ก็จะห้ามไม่ให้รู้สึก (โดยที่เด็กเองก็ไม่รู้ตัว) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะยังรักยังแคร์แม่อยู่

*เกิดจากภาวะแวดล้อม เช่น ความสัมพันธ์ของพ่อและแม่ที่มีปัญหาต่อกัน ความเครียดนี้ก็จะติดต่อไปที่ตัวเด็ก โดยผ่านท่าทีและบรรยากาศภายในบ้าน

สัญญาณ "ความเครียด" ของหนู
เด็กในวัยนี้มีการแสดงออกของความเครียดต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะบอกว่า กำลังกลุ้ม กำลังหงุดหงิด หรือรู้จักที่จะหาวิธีผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเอง แต่ตรงกันข้ามเด็กกลับจะแสดงออกในด้านพฤติกรรม อารมณ์และทางกายแทน ที่สำคัญคือมักแสดงออกในเรื่องของการกินอยู่หลับนอน อย่างเช่น งอแง ร้องโวยวาย หรือนอนหลับๆ ตื่นๆ นอนผวา นอนฝันร้าย หรือจู้จี้เรื่องอาหาร เอาแต่ใจ ปฏิเสธอาหาร บางทีก็แสดงออกมาในรูปของการขับถ่าย การกลั้นอุจจาระ ไม่ยอมถ่าย หรือเรียกร้องความสนใจ
ซึ่ง การแสดงออกเหล่านี้ทำให้พ่อแม่ไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นพัฒนาการที่ผิดปกติแต่ไม่ได้มองในประเด็นของความเครียด และเมื่อเข้าใจแบบนี้ก็มักจะเข้าไปจัดการ ตีกรอบ และบังคับลูก (มากเกินไป) ก็จะยิ่งทำให้เด็กเกิดความเครียดได้ง่ายขึ้น ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม และมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจบั่นทอนพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กรวมทั้งอาจทำให้เด็กมีปัญหาด้านจิตใจและพฤติกรรมได้ต่อไป
  
กลยุทธ์หลีกหนี "ความเครียด"
การ เข้าใจในธรรมชาติชองลูก เลี้ยงดูลูกด้วยพื้นฐานของความรักและมีเวลาให้ลูก รู้จักเล่น รู้จักสังเกต และต้องรู้ว่า ความเครียดของลูกวัยนี้มาจากเรื่องอะไรได้บ้าง เช่น ความต้องการทางกาย ทางใจ ความรัก การดูแลแล้ว นอกจากนั้นยังต้องรู้จักวางแผนการเลี้ยงดูเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหา ต่างๆ มีข้อสังเกตและคำแนะนำมาฝากกันค่ะ
*พ่อแม่ต้องเป็นคนช่างสังเกต และแยกแยะว่าความเครียดที่เกิดขึ้น เกิดจากสาเหตุใด เกิดที่ไหน เช่น ในบ้าน นอกบ้าน เกิดจากตัวเด็กเอง หรือคนแวดล้อม เพื่อจะได้แก้ไขได้ถูก
*ต้องรู้ธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ว่ามีพัฒนาการอย่างไร และตอบสนองต่อพัฒนาการนั้นให้เหมาะสม เช่น เป็นวัยที่มีความกลัว ก็ต้องไม่ผลักดันลูกไปสู่สถานการณ์แห่งความกลัวนั้น
*ต้องรู้ความต้องการของเด็กในวัยนี้ ซึ่งจะช่วยให้ปฏิบัติและเลี้ยงดูได้เหมาะสม
*หลีกเลี่ยงความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องตามใจลูกไปทุกเรื่อง เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะฝึกระเบียบวินัยอย่างเหมาะสม ค่อยเป็นค่อยไปและไม่เคร่งเครียดจนเกินไป
ผ่อนหนักให้เป็นเบา
การ สังเกตและดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อรู้และตอบสนองความต้องการของลูกได้เหมาะสม เป็นวิธีที่สอดคล้องในการลดทอนความเครียดของลูก แต่ในยุคสมัยที่เราทั้งพ่อและแม่ต้องทำงานนอกบ้านกัน (โดยเฉพาะในสังคมเมือง) โอกาสที่จะใกล้ชิดและดูแลลูก ด้วยปริมาณเวลาในแต่ละวันก็ลดน้อยลง แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคหรือปัญหาในการที่เราจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ความเครียด ของลูก มีกิจกรรมมากมายที่ใช้เวลาไม่มากแต่ช่วยให้ลูกผ่อนคลายได้ค่ะ
*ใช้เวลาที่เหลือจากงานหลักๆ ของคุณอยู่กับลูกให้มากที่สุด เพื่อพูดคุย สัมผัส โอบกอดและเล่นกับลูก เป็นการชดเชยช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่กับเขา
*ช่วงเวลาก่อนนอนเป็นเวลาที่ดีที่สุดเวลาหนึ่งที่เรา(พ่อ)แม่ลูกจะได้นอนกอดกัน เล่านิทานให้ฟัง โดยแอบล้วงความลับความเครียดในวันนั้น ที่ลูกพบผ่านนิทานสนุกๆ ถ้าเป็นปลายขวบปีที่สองลูกจะสามารถเป็นฝ่ายเล่าให้คุณฟังอย่างเป็นคุ้งเป็น แควเลยล่ะ
*การสอบถามพูดคุยในบรรยากาศสบายๆ (ไม่ใช่การตั้งคำถามให้ตอบ) คุยกันไปเรื่อยๆผ่านเนื้อหาคำถามที่จะตรวจเช็กว่าในวันนั้นๆ ลูกสุขสบายดีมั้ย อยู่กับพี่เลี้ยงเป็นอย่างไร ร้องไห้รึเปล่าด้วยเรื่องอะไร ฯลฯ เป็นวิธีช่วยสังเกตความเป็นไปของลูกอีกวิธีหนึ่ง
*หาเกมกิจกรรมที่ได้ออกแรงให้ลูกเล่นบ้าง (เพื่อขับพลังความก้าวร้าวที่มีอยู่ตามธรรมชาติของวัย) เช่น กิจกรรมกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม เล่นเตะฟุตบอล เล่นวิ่งไล่จับกัน ฯลฯ
*เลือกกิจกรรมเชิงศิลปะ เช่น การวาดภาพ การเล่นดนตรี ฟังเพลงสบายๆ เพื่อช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลาย (โดยไม่รู้ตัว)

สิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันนี้ นำไปสู่บรรยากาศของความเครียด ความกดดัน ซึ่งเจ้าตัวเล็กของเราก็คงจะได้รับแรงกระแทกนี้ไปด้วย ไหนจะความเครียดที่เกิดจากตัวของเขาเอง ไหนจะความเครียดที่มาจากสิ่งรอบตัว แต่ทั้งหมดนี้เพียงแต่พ่อแม่รู้เท่าทันภาวะอารมณ์ การแยกแยะว่าสิ่งไหนเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สิ่งไหนเกิดจากปัจจัยแวดล้อมและเราต้องดูแลจัดการอย่างไรบ้าง ก็สามารถช่วยประคับประคองให้ลูกรักเติบโตไปอย่างมีความสุข และสอดคล้องกับพัฒนาการของเขาได้อย่างแน่นอน

 ที่มา:http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3269869846698977848

ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกวัยแม้กระทั่งวัยเด็กซึ่งมีสาเหตุมาจากความรู้ภายในใจของเด็กและสภาพแวดล้อม พ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด แบ่งเวลาจากงานมาพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกัน ให้เด็กมีความสุขเพื่อพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดี






วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารพัดเคล็ดลับปรับพฤติกรรมเด็กก้าวร้าว

รศ.พ.ญ.วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า เด็กเล็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวจะเห็นได้จากการทำลายสิ่งของหรือทำร้ายตนเอง เมื่อโกรธหรือถูกขัดใจ ดื้อ ไม่เชื่อฟังคำสั่ง ตีน้อง ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็กในวัยเด็กเล็ก แต่ถ้าหากเราปล่อยปละละเลยโดยไม่สอนหรือฝึกทักษะให้เด็กรู้จักวิธีควบคุม อารมณ์และจัดการกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เด็กอาจกลายเป็นคนชอบใช้ความรุนแรง เป็นพวกอันธพาล ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาสังคมในอนาคต

วิธีจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูกนั้น สามารถปฏิบัติได้โดยการใช้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและ สามารถแก้ไขพฤติกรรมได้ โดยเฉพาะในเด็กยิ่งเล็กการให้เหตุผลต้องสั้น เข้าใจง่าย เช่น มีดเล่นไม่ได้เพราะจะบาดมือหนู นอกจากนี้ท่าทีที่หนักแน่นและจริงใจของผู้ใหญ่ก็มีความสำคัญอย่างมาก

รศ.พ.ญ.วันเพ็ญ กล่าวว่าเวลาที่ผู้ใหญ่ให้ทำอะไรแล้วเด็กมักดื้อ ไม่ยอมทำตาม วิธีการหนึ่งที่ได้ผลคือต้องพูดให้หนักแน่นและจริงจังว่าให้ทำเดี๋ยวนี้ อาจต้องใช้ท่าทีประกอบด้วย เช่น ลุกขึ้นจูงมือเด็กให้ไปทำในสิ่งที่ต้องทำ ในส่วนของการให้สิ่งทดแทนก็สำคัญเหมือนดังเช่นเวลาที่ห้ามเด็กทำสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง เช่น เด็กเล่นของแหลมอยู่ถ้าจะเอาจากมือเด็กก็ให้เอาของอื่นที่น่าสนใจกว่ามาให้ เด็กแทน และไม่ควรหยิบของแหลมจากมือเด็กไปเฉยๆ ซึ่งเด็กรู้สึกถูกขัดใจอย่างรุนแรงก็จะร้องอาละวาดต่อ หรือเช่นเห็นเด็กขีดเขียนฝาผนังบ้านอยู่ถ้าจะห้ามทำก็ควรหากระดาษมาให้เด็กเขียนแทน

การให้เด็กแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกเป็นเรื่องจำเป็น ควรให้เด็กรู้สึกว่าเมื่อเขามีความคิดเห็นอย่างไรก็สามารถพูดออกมาได้อย่าง อิสระ อีกทั้งควรให้รางวัลเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้พฤติกรรมที่เหมาะ สมนั้นคงอยู่ต่อไป รางวัลอาจจะเป็นคำชมเชยเพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจที่จะทำพฤติกรรมนั้นๆ อีก เป็นธรรมดาของเด็กทุกคนที่ต้องการได้รับความสนใจจากบุคคลอื่น

เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่อาจใช้วิธีเลิกสนใจขณะที่เด็กกระทำพฤติกรรมนั้น และให้ความสนใจหรือให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พ่อแม่เห็นว่าเหมาะสม อย่างไรก็ตามการสอนเด็กเล็กๆ นั้นพ่อแม่ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกเพราะเด็กจะเอาเป็นแบบอย่าง และจะจดจำการกระทำของผู้ใหญ่มากกว่าการสั่งสอนด้วยวาจาหรือการลงโทษ และถ้าจำเป็นต้องลงโทษเด็กต้องไม่ทำด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด หรือไม่ชอบเด็ก เพราะจะทำให้เด็กยิ่งต่อต้านมากขึ้น ทั้งนี้ต้องอธิบายเหตุของการทำโทษให้เด็กคนนั้นทราบว่าเพราะอะไรเขาจึงถูกทำโทษ

ที่มา: http://news.sanook.com/lifestyle/lifestyle_140003.php

เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมพ่อแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และวิธีการลงโทษควรใช้เหตุผลมากกว่าการดุด่าหรือตีเพราะจะทำให้เด็กต่อต้านมากขึ้น

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นับเลข

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-ศิริ ลักษณ์ วุฒิสรรพ์(2551 :28-29) กล่าวว่ากิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรุ้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา กิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
-คณิตศาสตร์ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัดและตัวเลข เช่น "เอาอันที่ใหญ่ที่สุดให้หนูน่ะ" "หนูจะเอาอันกลมๆนั่นละ" "โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท" ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศษสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์


นิตยา ประพฤติกิจ(2541:17-19) กล่วถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3. เพื่อให้เด็กมีคววามเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่

8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย

ที่มา:http://rotjarin2.blogspot.com/2010/02/blog-post_16.html

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหานิสัยแปรปรวน

ปัญหานิสัยแปรปรวน
          ๑. การส่ายศีรษะ โยกตัว เขย่าตัว พบในวัยเด็ก ๓-๔ เดือนขึ้นไป  อาการมักหายไปเมื่อวัย     ๒ ๑/  -  ๓ ปี พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง  อาการเกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์โกรธหรือถูกขัดใจ  อาจพบในเด็กปัญญาอ่อน เด็กตาบอด หรือถูกทอดทิ้ง
          การช่วยเหลือ บางรายแพทย์ใช้ยาช่วยชั่วคราว และควรหาสาเหตุที่กระเทือนใจเด็ก ให้ความสนใจ และเล่นกับเขามากขึ้น หาทางให้เขาโยกตัวและเคลื่อนไหวอย่างมีความหมาย เช่น เปิดดนตรีให้เข้าจังหวะเต้นรำ หรือเล่นชิงช้า เป็นต้น
          ๒. การดูดนิ้ว มักเกิดเวลาง่วงหรือดูอะไรเพลินๆ บางครั้งดึงหู ไชหู จับผ้าอ้อมผ้าห่ม ฯลฯ นอกจากนี้อาจเกิดเวลาอารมณ์เครียด โกรธ เสียใจผิดหวัง  การลงโทษด้วยการทาบอระเพ็ดหรือเอาผ้าพันนิ้ว ล้วนเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง อาจช่วยเหลือโดย หาสิ่งอื่นมาทดแทนให้จับ หรือหาทางช่วย
          ๓. การกัดเล็บ พบมากในวัยรุ่น มักเกิดจากความเครียดทางอารมณ์  ควรช่วยเหลือโดยลดบรรยากาศตึงเครียดในครอบครัว  ตัดแต่งเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ให้กำลังใจเด็ก หรือหาสิ่งอื่นมาทดแทนเมื่อจำเป็น เช่น ลูกอม หมากฝรั่ง เป็นต้น
          ๔. การแสดงอารมณ์รุนแรง เมื่อถูกขัดใจหรือไม่สมหวัง พบในเด็กอายุ ๒ - ๓ ๑/ ปี เมื่อต้องการให้แม่ซื้อของเล่น แล้วไม่ได้อย่างใจ เด็กจะกรีดร้องเสียงดัง ทุ่มตัวนอนดิ้น บางคนขว้างปา ทุบตีคน หรือวัตถุ วิธีแก้ไข ผู้ใหญ่ควรมีทีท่าที่สงบและไม่ให้อะไรแก่เด็ก  ไม่ดุไม่ลงโทษ เมื่อเด็กสงบแล้ว  อธิบายให้เด็กเข้าใจ  นอกจากนี้ผู้ใหญ่ต้องสำรวจตัวเองว่าไม่ได้แสดงความโมโหร้ายหรือเจ้าอารมณ์ ให้เป็นตัวอย่างแก่เด็ก และไม่ตามใจ หรือเข้มงวดแก่เด็กเกินไป
          ๕. หายใจดั้น  เด็กอายุเกิน ๖ เดือนขึ้นไปจนถึง ๓-๔ ปี อาจมีอาการร้องแล้วกลั้นหายใจนิ่งเงียบจนหน้าเขียว ตัวเกร็ง กระตุก สักพักหนึ่งแล้วจึงร้องดังต่อไป ผู้ใหญ่ควรช่วยเหลือโดยไม่ตกใจหรือกังวลตบตามตัวเด็ก  ใช้น้ำแข็งแตะ จับตัวเขย่า เมื่อเด็ก หายใจได้ก็ปลอดภัย ผู้ใหญ่ไม่ควรให้สิ่งที่เด็กต้องการเมื่อเด็กใช้วิธีนี้
          ๖. การดึงหรือถอนผมและขน  พบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย เกิดในวัย   ๒-๓  ปี  จนถึงวัยรุ่นส่วนมากเกิดอาการเมื่อมีความตึงเครียดทางอารมณ์ หรือเวลาที่เพลินไม่รู้ตัว ส่วนมากพบว่ามีปัญหาในครอบครัว ช่วยเหลือโดยการปรับปรุงความสัมพันธ์ในครอบครัวและแก้ไขท่าทีต่อเด็ก  หรืออาจตัดผมให้สั้นเพื่อดึงยาก  ควรตรวจว่าไม่มีโรคผิวหนังหรือโรคของรากผม  ส่วนแพทย์อาจใช้ยาสงบประสาทช่วย
          ๕. การเขม่น  หรือกระตุกที่กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลำคอ ไหล่ แขน เช่น ขยิบตา กระแอม ยักไหล่ ทำจมูกฟุดฟิด พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ในวัยระหว่าง ๘-๑๒ ปี สาเหตุเนื่องจากความตึงเครียดทางอารมณ์ มักเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบสูง ตื่นเต้นตกใจง่าย เจ้าอารมณ์ ซุกซนหรือชอบล้อเลียนผู้อื่น จนติดนิสัย ส่วนมากอาการไม่รุนแรง จะหายได้เอง
          ๖. การพูดติดอ่าง เนื่องจากไม่สามารถใช้คำพูด และคำศัพท์ต่างๆ ได้ทันใจคิด บางครั้งเป็นผลมาจากการล้อเลียน การถูกลงโทษ หรือการตกใจอย่างรุนแรง  อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย  เช่น  อาการกลัว  อาเจียน ฯลฯ ช่วยเหลือได้โดยไม่คอยจับผิดการพูด  ไม่ดุหรือลงโทษ  เพราะจะทำให้ตึงเครียดยิ่งขึ้น ช่วยสอนคำศัพท์เพิ่มเติมให้ เด็กโตควรช่วยด้าน จิตบำบัด ฝึกพูด บริหารกล้ามเนื้อ  เช่น ร้องเพลงว่ายน้ำร่วมด้วย ร้อยละ ๘๐ ของเด็กติดอ่างจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัย
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ การให้เด็กเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีครูและผู้ปกครอง อยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะที่เหมาะสม ซอร์ฟแวร์ที่นำมาใช้จะต้องเป็นเรื่องของการศึกษา จึงจะพัฒนาเด็ก ได้จริงตามจุดประสงค์ของการเรียน สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เน้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูล ข่าวสารเป็นเหตุให้โรงเรียนต่างๆเริ่มให้มีการใช้คอมพิวเตอร์และมีโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ทางเทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่ใช้กับเด็กได้ทุกวัยมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ กับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆทั้งเพื่อเป็นการฝึกทักษะให้กับเด็ก เช่น การสร้างสัมพันธภาพการเรียนรู้ ทางพุทธิปัญญา การคิดเลข และใช้เพื่อการฝึกความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยในการ ใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กันเมื่อเด็กใช้แล้วเด็กยังได้พัฒนาทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ด้วย จุดประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็กปฐมวัยมุ่งฝึกเด็กให้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ความคิดและทักษะต่างๆมากกว่าการหัดให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
1. ทำให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบด้วยความสนุก เช่น การเรียนคำศัพท์
2. ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทดลองฝึกผสมสี โดยไม่เปลืองดินสอสี จากโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่มีข้อเสีย คือการใช้ทักษะของมือ
3. การใช้ภาพ รูปร่าง เด็กสามารถเรียนรู้ถ่ายโยงมาสู่เรื่องใหม่ๆได้ ทำให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง ทำให้ ฝึกคิคค้นการแก้ปัญหาได้ดีอย่างไรก็ตามในการฝึกทักษะนี้ครูสามารถเลือกเกม ต่างๆที่สามารถฝึก
ทักษะเด็กที่ต้องการได้ 
สรุป
การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้ไม่ใช่การเป็นการเรียนการใช้
คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่ เช่น การสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงว่าเก่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังกับคอมพิวเตอร์จะเป็นเหตุให้เด็กขาดสติปัญญา เด็กควรได้เรียนมากกว่า การให้เล่นเกม ควรฝึกวินัยเด็กให้รู้ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ โรคติดคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เกิดจาก
เด็กติดอินเตอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งนับ เป็นโรคอย่างหนึ่งที่เป็นการเสพติดจริงๆควรใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเพื่อการเสริมการเรียนรู้ไนเรื่องที่สนใจเท่านั้น ครูและผู้ปกครองต้องเข้าใจและปลูกฝัง ให้กับเด็กให้ถูกทาง ต้องจำกัดเวลาที่เหมาะกับเด็กในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์อย่าลืมว่าเด็กต้อง พัฒนา
ในทุกด้าน การใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีครูหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะและได้สนทนา
ร่วมกันเสมอ

ที่มา: http://www.saidaroon.ac.th/academic.php?aca=article11

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

INCY WINCY SPIDER - Animated Rhymes

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

1.แมงมุมลายตัวนั้นฉันเห็นมันซมซานเหลือทน

วันหนึ่งมันถูกฝน ไหลลงจากบนหลังคา

พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลับตา

มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมาทำตาลุกวาว
  
The itsy bitsy spider went up the water spout.
Down came the rain, and washed the spider out.
Up came the sun, and dried up all the rain,
and the itsy bitsy spider went up the spout again.


 2.จับปูดำ ขยำปูนา

จับปูม้า คว้าปูทะเล

สนุกจริงเลย ชะเลยนอนเปล

จะโอละเห่นอนเปล หลับไป 


3.ช้างๆๆ น้องเคยเห็นช้างรึเปล่า

ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาวๆเรียกว่างวง

มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา มีหูมีตา หางยาว


 4.กำมือขึ้นแล้วหมุน ๆ ชูมือขึ้นโบกไปมา

กำมือขึ้นแล้วหมุน ๆ ชูมือขึ้นโบกไปมา

กางแขนขึ้นแหละลง พับแขนมือแตะไหล่

กางแขนขึ้นแหละลง พับแขนมือแตะไหล่

ชูมือขึ้นหมุนไปรอบตัว 


 5.นี่คือผม..นี่คือหน้าผาก

..นี่คือปาก..นี่คือลูกตา

..ยื่นออกมาเค้าเรียกว่าแขน..

อันแบน แบนเค้าเรียกสะโพก..

เอาไว้โยก แซมบ้า…แซมบ้า 


วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

3 Year Old Drummer

ลูกรู้จักดนตรี เสริมสร้างพัฒนาการรอบด้าน

 

แม้ว่าเด็กในวัยทารกไปจนถึงเด็กเล็กจะมองดูเหมือนมนุษย์ตัวน้อยๆ ที่ไม่น่าจะเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของดนตรี พวกแกอาจจะหัวเราะเอิ๊กอ๊าก เมื่อได้ฟังเพลงหรือเสียงบรรเลงดนตรีในท่วงทำนองสนุกๆ แต่กิริยาเหล่านั้น อาจเป็นความชอบอกชอบใจที่ไม่เกี่ยวกับดนตรีเลยก็เป็นได้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เคยคิดอะไรทำนองนี้ แสดงว่ายังประเมินคุณค่าของดนตรีที่ส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยต่ำเกินไป เพราะแท้จริงแล้ว เสียงดนตรีที่มีคุณภาพสามารถกระตุ้นพัฒนาการทุกด้านของเด็กในช่วงขวบปีแรก ของชีวิตได้อย่างมากมายมหาศาล เบื้องต้นคงต้องทำความเข้าใจกับส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนของดนตรีเสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง
ดนตรี = เสียง + จังหวะ + ท่วงทำนอง
เสียง     มีที่มาจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือเสียงที่เกิดจากเราเป็นผู้ทำขึ้น และเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ
หากเปรียบดนตรีกับภาพเขียน เสียงจะเปรียบเสมือนสีที่ เป็น พื้นหลังของภาพ เสียงที่ไพเราะจะส่งผลด้านบวกแก่เรา ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดความแจ่มใส กระฉับกระเฉง หรือทำให้เกิดความสงบผ่อนคลาย ขณะที่เสียงแหลมสูงทำให้เราทนฟังไม่ได้ เมื่อเด็กๆ เริ่มเข้าใจแล้วว่า เสียงเปรียบเหมือนสีพื้นหลังในรูปภาพ เขาจะสามารถเชื่อมโยงได้ว่าจะสามารถสร้างเสียงดนตรีขึ้นมาได้อย่างไร โดยอาศัยเสียงเป็นบันไดขั้นแรกในการสร้างสรรค์ พ่อแม่ต้องลองสังเกตดูว่า ลูกฟังเสียงรอบๆ ตัวอย่างสนอกสนใจหรือไม่         เสียงต่างๆ ในห้องครัวหรือในสวนหลังบ้าน พยายามกระตุ้นให้ลูกสร้างสรรค์เสียงต่างๆ โดยไม่ต้องเคร่งครัดว่าจะต้องเป็นเสียงเพราะๆ เท่านั้น ปล่อยให้ลูกเคาะกะโหลกกะลาหรือเสียงที่น่ารำคาญต่างๆ เท่าที่จะพอใจ  จุดประสงค์ของการสร้างสรรค์เสียงในลักษณะนี้คือ ต้องการให้เด็กได้แสดงความรู้สึกและตัวตนที่แท้จริงออกมาอย่างเต็มที่ รวมทั้งทำให้เด็กได้ฝึกประสาทการรับฟังเสียงต่างๆ จากโลกรอบๆ ตัว
จังหวะ    เป็นตัวจัดระบบให้กับเสียงผ่านทางเสียงเคาะให้จังหวะ ถ้าเปรียบกับภาพเขียน จังหวะก็เหมือนทิศทางการเคลื่อนไหวทั้งหมดของรูปภาพ ครั้งแรกที่เรามองภาพ สายตาเราจะจับจ้องตรงจุดไหน ภาพนั้นมีลายเส้นที่ดูง่ายหรือยุ่งเหยิง สิ่งนี้เป็นเช่นเดียวกับจังหวะ ตอนรู้สึกเซ็งๆ หรือหดหู่ พอได้ยินเสียงกลองแอฟริกันจังหวะสนุกๆ เร่งเร้า เราก็จะกลับมาคึกคักได้ ตรงกันข้าม การขับกล่อมด้วยเพลงจังหวะช้าๆ จะช่วยทำให้จิตใจเยือกเย็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ การพยายามเพิ่มเติมจังหวะต่างๆ เข้าไปในเสียงที่ลูกชอบทำ สังเกตว่าลูกชอบเคาะจังหวะแบบใดบ้าง อาจเร็ว ช้า หนักแน่น หรือเคาะก๊องๆ แก๊งๆ ไม่เป็นจังหวะ พยายามฝึกให้ลูกได้ฟังจังหวะต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น เสียงน้ำหยดติ๋งๆ หรือเสียงนาฬิกาติ๊กต็อกๆ หรือจังหวะต่างๆ ในร่างกายของตัวเอง และให้ลูกสังเกตว่าจังหวะแต่ละแบบมีผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง เช่นอยากขยับขับเคลื่อนเท้าไปตามจังหวะดนตรีหรือไม่
ท่วงทำนอง
จะทำให้เสียงและจังหวะผสานออกมาเป็นความ รู้สึกต่างๆ ท่วงทำนองเป็นส่วนที่จับใจที่สุดของเสียงดนตรี ท่วงทำนองจะมีผลต่อจิตใจอย่างลึกซึ้ง เช่น ช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายขึ้นในยามที่จิตใจตึงเครียด หรือแม้แต่ร้องไห้ออกมาเมื่อได้ฟังท่วงทำนองที่ซาบซึ้ง เปรียบกับภาพเขียน ท่วงทำนองก็เหมือนกับความรู้สึกทั้งหมดที่เรามีต่อภาพ เมื่อเด็กได้เรียนรู้เรื่องท่วงทำนองพร้อมเสียงและจังหวะ ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกออกมาได้อย่างเหมาะสมเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะเพิ่มเรื่อง ของอารมณ์ความรู้สึกเข้าไปในเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงแห่งความสนุกสนาน เศร้าใจ หรือมีความสุข ท่วงทำนองจะเปลี่ยนเสียงให้เป็นเรื่องรายและอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว พ่อแม่สามารถใช้จินตนาการในการเลือกเพลงรูปแบบต่างๆ เพ่อให้ลูกได้ลองฟังและแสดงความรู้สึกออกมา

ดนตรีเสริมทักษะรอบด้าน  
นอกเหนือจากการเรียนรู้เรื่องดนตรีจากพ่อแม่โดยตรงแล้ว เด็กควรได้รู้จักมีสังคมด้วย โดยการทำกิจกรรมกลุ่มและการเล่นดนตรีควบคู่กันไป

พัฒนาการด้านสังคม
การทำกิจกรรมกลุ่มด้านดนตรีทำให้เด็กได้อยู่ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ เป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้น กิจกรรมกลุ่มเหล่านี้อาจเป็นการรวมกลุ่มร้องเพลง ล้อมวงเล่นเกมที่มีเสียงเพลงประกอบ หรือปรบมือประกอบจังหวะ เหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะในการรู้จักรอคอยให้ถึงเวลาของตน รู้จักการทำงานร่วมกันไปจนถึงการแบ่งปัน

พัฒนาการทางร่างกายพัฒนาการทางร่างกายของเด็กนั้น เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบในการทำกิจกรรมด้านดนตรี การเต้นรำและเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อประกอบจังหวะช่วยพัฒนาในเรื่องของความ พร้อมเพรียงและการควบคุมกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยให้เด็กๆ ได้รู้สึกถึงจังหวะผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือแม้แต่การฝึกเล่นเครื่องดนตรีควบคู่ไปด้วย การให้จังหวะจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น การปรบมือหรือเคาะเท้าประกอบจังหวะ ช่วยในเรื่องของพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว มือและนิ้วมีความสัมพันธ์กับเสียงและการเคลื่อนไหวร่างกาย

ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
การทำกิจกรรมดนตรีเป็นกลุ่มยังเป็นการเสริมทักษะด้านการสื่อสารได้อย่างดี การร้องเพลงและการทวนซ้ำเนื้อเพลง รวมทั้งจังหวะของเพลง จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาของเด็กให้ดีขึ้น และยังทำให้เด็กจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้อีกหลายคำ นอกจากนี้ดนตรีและบทเพลงยังเป็นประสบการณ์แรกๆ เกี่ยวกับโครงสร้างของภาษา  การตั้งใจฟังดนตรีเพื่อแยกแยะเสียงต่างๆ จากเครื่องดนตรีแต่ละประเภท เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างสมาธิในการฟังให้เกิดขึ้น เป็นการพัฒนาความสามารถในการแยกแยะเสียงต่างๆ ให้เกิดขึ้นในตัวเด็กได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีความจำเป็นต่อเด็กในการเรียนรู้ที่จะใช้ภาษา

ทักษะด้านคณิตศาสตร์
ฟังดูไม่น่าเชื่อว่าการเรียนรู้ดนตรีจะมีผลต่อทักษะด้านคณิตศาสตร์ได้อีกทาง หนึ่ง แต่เรื่องนี้เป็นไปได้จริง เด็กจะได้ทักษะการเรียงลำดับของตัวเลขจากการนับจังหวะดนตรี รวมไปถึงการจดจำและคิดค้นจังหวะของเสียงดนตรีขึ้นมาใหม่ เป็นแนวคิดเดียวกับเรื่องของคณิตศาสตร์ หากให้โอกาสเด็กในการเปรียบเทียบ แยกประเภท และจับคู่เสียงต่างๆ ซึ่งแตกต่างกัน เช่น ทดลองด้วยการเขย่าอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านให้เกิดเสียง วิธีนี้จะช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาแนวคิดด้านคณิตศาสตร์ในเรื่องชุด (set) ของสิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้
คุณค่าต่างๆ จากการเรียนรู้ดนตรีในช่วงขวบปีแรกของชีวิตยังมีอีกมากมายมหาศาล ซึ่งพ่อแม่ที่ฉลาดย่อมรู้ว่า นี่คือของขวัญอันมีค่าซึ่งควรจะมอบให้แก่ลูก หากผ่านพ้นช่วงวัยนี้ไปแล้ว เท่ากับพลาดโอกาสทองที่ไม่อาจทวนคืนมาได้อีก

ที่มา:http://www.yamaha.in.th/yamahanew/tips_family_learnplay01.php