วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการเล่านิทาน

เทคนิคการเล่านิทาน


              เด็กเป็นวัยที่มากด้วยโลกของจินตนาการอันกว้างไกล ผู้ใหญ่มักจะเป็นผูุ้็ถ่ายทอดเรื่องราวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น เรื่องสนุกสนาน เรื่องเศร้าโศกเสียใจ เรื่องราวสะเทือนขวัญ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหรือสิ่งแวดล้อม เราจึงควรทำความเข้าใจกับการจินตนาการของเด็ก เพื่อจะสามารถเล่าหรือแต่งนิทานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ อย่างสอดคล้องกับจินตนาการและความต้องการของเด็ก
การจินตนาการของเด็กพอจะแบ่งออกได้ดังนี้
               1. จินตนาการแบบอิสระ คือจินตนาการที่เด็กไม่มีประสบการณ์รองรับเลย เด็กจะใช้ความคิดคำนึงเฉพาะตัวเป็นหลักในการตัดสิน และส่งผลต่ออารมณ์ของตนเอง
               2. จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เป็นจินตนาการของเด็กที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นหรือได้ฟัง กับของที่เคยเห็นเคยฟังมาแล้ว แบ่งได้ 3 ขั้นตอนคือ
                      ขั้นที่1 คือเมื่อเด็กไำด้ฟังสิ่งใด หรือเห็นสิ่งใดแดล้วนึกถึงสิ่งที่เคยเห็นมาก่อนหรือจินตนาการสิ่งที่เคยเห็นมก่่อน
                      ขั้นที่2 นอกจากเด็กจะเชื่อมโยงสิ่งที่ตนเห็นหรือได้ฟังกับอีกสิ่งหนึ่งแล้วเด็กยัง จินตนาการไปถึงอารมณ์หรือความมีชีวิตชีวาของสิ่งนั้นๆด้วย
                      ขั้นที่3 เป็นการจินตนาการไปถึงสิ่งเหนือจริง ของวิเศษ สิ่งมหัศจรรย์ จินตนาการขั้นนี้เป็นขั้นที่เด็กๆใฝ่ฝันอยากจะมีกันทุกคน จะสังเกตได้ว่า ถ้าเราบอกว่า"มีกบอยู่ตัวหนึ่ง"เด็กๆก็จะฟังเฉยๆ แต่ถ้าบอกว่า"มีกบวิเศษอยู่ตัวหนึ่งสามารถพ่นไฟได้ด้วย"เด็กๆก็จะทำตาโตทีเดียว

นิทานกับความต้องการของเด็ก
                ในบทที่1 เรื่องลักษณะทางจิตวิทยาเด็กที่เอื้อต่อการเขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก ได้กล่าวถึงความต้องการและความนใจของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประพันธ ์วรรณกรรมสำหรับเด็กจะพิจารณา เพื่อนเขียนเรื่องราวให้ตรงกับความต้องการของเด็ก เพราะสาเหตุที่เด็กๆชอบฟังนิทานนั้น ไม่ใช้เพราะนิทานมีโลกจินตนาการเท่านั้น แต่นิทานหลายเรื่องมีการสนองความต้องการของเด็กๆแฝงอยู่ด้วย เด็กๆมีความต้องการมากมายพอสรุปได้ดังนี้คือ
               -ต้องการความรัก
               -ต้องการให้คนอื่นสนใจ
               -ต้องการให้ความรักแก่คนอื่น
               -ต้องการเล่น
               -ต้องการกิน
               -ต้องการสิ่งวิเศษมหัศจรรย์
               -ต้องการสิ่งสวยงาม
               -ต้องการสิ่งลึกลับ
               -ต้องการความขบขัน
                จากความต้องการดีงกล่าว ทำให้เราสามารถเลือกนิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังได้ นิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังนั้น ควรเป็นนิทานที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางเนื้อหาได้อรรถรส รูปแบบการใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษา ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณภาพ ยกระดับสติปัญญาและจิตใจ

การเลือกนิทาน
                
ผู้เล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟัง จะต้องเลือกนิทานให้เป็น เพราะนิทานที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเด็กจะชอบทุกเรื่อง การเลือกนิทานควรพิจารณาสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
                1. นิทานเรื่องนั้นสนองความต้องการของเด็กได้มากน้อยเพียงไร
                2. เรื่องเล่าควรจะเลือกให้เหมาะกับวัยต่างๆของเด็ก
                3. เวลาที่ใช้ในการเล่าควรจะเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาความสนใจและสมาธิในการฟังของเด็กวัยต่างๆ
                4. เนื้้อหาจะต้องมีสาระค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณณธมและจริยธรรม
                5. มีเนื่้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม กระตุ้นจินตนาการของเด็ก
                6. เป็นวรรณกรรมที่ดีทั้งโครงเรื่อง ลักษณะที่เด่นของตัวละคร การใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ไม่เคยตาย(Timelessness)
                7. ไม่ควรสร้างความขบขันบนความเจ็บปวดของคนอื่น และไม่ใช้ภาษาหรือปฏิบัติต่อเด็ฏในเชิงตำหนิติเตียนหรือดูหมิ่น
                8. กล่าวถึงอารมณ์มนุษย์อย่างระมัดระวัง เสนอแนะวิธีการที่สร้างสรรค์แก่เด็กในการเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ

การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
                 ผู้เล่านิทานเมื่อเลือกเรื่องของนิทานให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังและพอใจกับเนื้อเรื่องแล้ว ผู้เล่าจะต้องนำนิทานที่จะเล่ามาจัดเตรียมให้พร้อมก่อนจะดำเนินการเล่าดังนี้
                 1. ผู้เล่าจะต้องอ่านทบทวนเรื่องราวที่ผู้เล่าเลือกมา ให้เกิดความคุ้นเคย เข้าใจ และรู้จักเรืองที่เลือกมาได้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้เกิดความราบรื่นตลอดขณะดำเนินการเล่าี
                 2. ขั้นตอนการเล่า ผู้เล่าจะต้องพิจารณาในการนำเสนอการขึ้นต้นเรื่อง การเล่าเรื่องต่อเนื่องจนถึงกลางเรื่อง และการจบเรื่องให้ชัดเจน และน่าสนใจตามลักษณะเฉพาะของผู้เล่า
                 3. สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่า ผุ้เล่าจะต้องเตรียม และทดลองใช้ให้เกิดความชำนาญ และจัดระบบการใช้ตามลำดับก่อนหลัง
                 4. กิจกรรมประกอบการเล่านิทาน ผู้เล่าจะต้องเตรียมให้พร้อมและจะต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น การร้องเพลงซ้ำๆ และง่าย คำพูดซ้ำๆ และง่าย การร้องขอให้ผู้ฟังมาช่วยร่วมแสดงกรือทำกิจกรรมด้วยขณะดำเนินการเล่า
                 5. สถานที่เล่า ผู้เล่าจต้องพิจารณาตามความเหมาะสมให้พอดีกับกลุ่มผู้ฟังเพราะ ผู้เล่าจะต้องจัดเตรียมสื่อให้พอเหมาะกับการมองเห็น และการฟังของผู้เล่า
                    นอกจากนี้ผู้เล่านิทานจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องอ่านนิทานซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยออกเสียงดังๆและจะต้องอ่านจนขึ้นใจในเรื่องราว ถ้อยคำ และการดำเนินเรื่อง ถ้ากลัวติดขัดขณะทำการเล่า ผู้เล่าจะต้องบันทึกย่อเพื่อกันลืม
วิธีเล่านิทาน
         
การเล่านิทานแบ่งได้ 5 วิธีได้แก่
                 1. เล่าปากเปล่า
                 2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบ
                 3. เล่าโดยใช้ภาพประกอบ
                 4. เล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัว
                 5. เล่าโดยใช้ศิลปะเข้าช่วย

                 1. เล่าปากเปล่า ผู้เล่าต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพราะจุดสนใจของเด็กที่กำลังฟังนิทานจะอยู่ที่ผู้เล่าเท่านั้น วิธีเตรียมตัวในการเล่านิทานมีดังนี้
                 1.1 เตรียมตัวด้านเนื้อหาของนิทาน
                  -อ่านนิทานที่จะเล่าและทำความเข้าใจกับนิทานเสียก่อน
                  -จับประเด็นนิทานให้ได้ว่า นิทานที่จะเล่าให้อะไรแก่เด็กที่ฟัง
                  -แบ่งขั้นตอนของนิทานให้ดี
                  -การนำเสนอขั้นตอนของนิทานในขณะที่เล่า ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่อ่านเสมอไป
                  -เพิ่มหรือลดตัวละครเพื่อความเหมาะสมในการเล่า
                 ที่สำคัญผู้เล่าต้องสามารถปรับนิทานให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กได้ด้วย เพราะถ้าเห็นว่าเด็กกำลังสนุกสนานก็เพิ่มเนื้อหาเข้าไปได้
                  1.2 น้ำเสียงที่จะเล่า
                       
ผู้เล่่าต้องมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงที่ไพเราะ และที่สำคัญที่สุดคือการเว้นจังหวะ การเน้นเสียงให้ดูน่าสนใจ ไม่ควรให้น้ำเสียงราบเรียบมากเกินไป เสียงเบา-เสียงหนัก พูดเร็ว-พูดช้า ก็เป็นการบ่งบอกอารมณ์ของนิทานได้เช่นกัน
                   1.3 บุคลิกของผู้เล่านิทานต่อหน้าเด็กจำนวนมาก
                         ต้องมีบุคลิกที่น่าสนใจสำหรับเด็กคือ
                         -ไม่นิ่งจนเกินไป
                         -ไม่หลุกหลิกจนเกินไป
                         -ต้องมีการเลคื่อนไหวท่ีเหมาะสมกับเนื้อหาของนิทาน
                         -มีการแสดงท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อหาของนิทานอย่างพอเหมาะพอเจาะ
                         -มีท่าที่ผ่อนคลายและดูเป็นกันเองกับเด็กๆ
                   1.4 เสื้อผ้าที่สวมใส่
                        ต้องเป็นเสื้อผ้าที่มั่นใจในการเคลื่อนไหว
                   1.5 บรรยากาศในการฟังนิทาน
                        ต้องไม่วุ่นวายจนเกินไป อยู่ในสถานที่ที่สามารถสร้างสมาธิสำหรับคนฟังและคนเล่าได้เป็นอย่างดี
                  2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบการเล่า การใช้หนังสือประกอบการเล่านี้ หมายถึงการใช้หนังสือที่มีภาพประกอบ ผู้ที่จะใช้หนังสือภาพต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
                 2.1 อ่านนิทานให้ขึ้นใจ เวลาเล่าจะไ้ด้เปิดหนังสือภาพให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า
                 2.2 ศึกษาความหมายของสีที่ใช้ประกอบภาพ เพราะหนังสือสำหรับเด็กมักจะใช้สีเป็นสื่ออารมณ์ของเรื่องด้วย
                 2.3 ศึกษาภาพประกอบที่เป็นปกหน้าปกหลัง เพราะบางเรื่องตอนเริ่มเรื่องอยู่ที่หน้าปก และตอนจบอยู่ที่ปกหลังก็มี
                 2.4 การถือหนังสือ ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพประกอบได้อย่างทั่วถึง ถ้าผู้ฟังนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ต้องมีการยกภาพให้มองเห็นทั่วทั้งหมด     

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

โลกแห่งจินตนาการของเด็กเล็ก

 บรรดาพ่อ แม่ ครู พี่เลี้ยงหรือคนใช้ ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็กเล็กมักจะเห็นเด็กเล็กทุกคนพูดกับตนเอง เด็กเล็กบางคนสนทนากับตนเอง บ่อยครั้งยิ่งกว่ากับบุคคลอื่น นักจิตวิทยาได้พบว่าเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ขวบ ใช้เวลาตั้งแต่ 20-60% ของเวลาพูดในแต่ละวันพูด พึมพำกับตนเอง ซึ่งอากัปกิริยาเช่นนี้ผู้ใหญ่มักคิดว่าเป็นนิสัยที่ไม่มีความหมายใดๆ และเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการไร้เสถียรภาพ ทางอารมณ์ ดังนั้น ผู้ใหญ่หลายคนจึงห้ามปรามมิให้เด็กเล็ก "เพ้อเจ้อ" หรือ รำพึงรำพันใดๆ
แต่ ณ วันนี้นักจิตวิทยาได้วิจัยพบว่านิสัยการปรารภกับตนเองเป็นพฤติกรรมที่จำเป็นสำหรับ เด็กที่กำลังมีพัฒนาการของสมอง ดังนั้น การเข้าใจพฤติกรรมลักษณะนี้เป็นอย่างดีจะเป็น ประโยชน์ต่อชีวิตเด็กในอนาคต  นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ชื่อ Lev S. Vygotsky คือบุคคลแรกของโลกที่ได้ตระหนักใน ความจริงนี้แต่ผลงานของเขาถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ Stalin ประณามและห้ามเผยแพร่ นอกจากเหตุผลทางการเมืองแล้ว เหตุผลด้านวิชาการก็มีส่วนในการทำให้ชื่อของ Vygotsky เป็นที่ยอมรับช้าอีกด้วย เพราะนักจิตวิทยายุคนั้นยึดมั่นในคำสอนของ Piaget ซึ่งเป็นนัก จิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ชาวสวิส ที่เชื่อว่า การสนทนากับตนเองของเด็กเล็กไม่มีความสำคัญและไม่มี บทบาทในการพัฒนาเด็กแต่อย่างใด Piaget คิดว่าอุปนิสัยชอบพูดกับตนเองเช่นนี้จะหมดไป เมื่อเด็กเล็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นวัยที่เขาสามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
แต่ก็มีนักจิตวิทยาชาวอเมริกันท่านหนึ่งขื่อ Konlberg ซึ่งเชื่อว่าความคิดของ Vygotsky ถูก เพราะ Kohlberg มีความคิดว่า หากผู้ใหญ่สามารถเข้าใจอุปนิสัยของเด็กได้ เขาจะสามารถใช้ความเข้าใจนี้พัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ ของเด็กได้ เพราะเวลา เด็กเล็กพูดกับตนเองนั่นแสดงว่าเด็กกำลังใช้ความพยายามแสดงออกซึ่งความคิด เห็นของตน และการที่เด็กพูดกับตนเองบ่อย ก็เพราะ เนื้อหาสาระที่เขาพูดสามารถชี้นำให้เขามีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาที่เขากำลัง เผชิญอยู่ได้ด้วยตัวของเขาเอง
เมื่อประมาณ 7 ปีมาแล้ว L.E. Berk แห่งมหาวิทยาลัย Illinois State ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้วิจัยพบว่า เวลาเด็กเล็กสับสน หรือเผชิญปัญหา เด็กมักใช้วิธีพูดกับตนเอง และการปราศัยกับตนเองนี้จะกระทำบ่อยเพียงใดขึ้นกับความยากลำบากของกิจกรรม ที่เด็กเล็กกำลังกระทำ และการเข้าใจจุดมุ่งหมายของภาระงานนั้น และนอกจากปัจจัยดังกล่าวนี้แล้ว อุปนิสัยส่วนตัวเด็กก็มีส่วน ไม่น้อยในการชักนำ ให้เด็กเล็กสนทนากับตนเอง
เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ Berk จึงมีความเห็นว่า เวลาผู้ปกครองเด็กเห็นเด็กพูดกับตนเองขณะทำงานที่เด็กไม่เคยมีประสบการณ์ มาก่อน ผู้ใหญ่ควรตระหนักได้ว่านั่นคือ สัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเด็กกำลังต้องการคำพูดที่ให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ และเด็กกำลังต้องการการประคับประคองทางจิตใจ เพื่อที่จะรู้ว่ากิจกรรมที่เขากำลังทำอยู่นั้นมีจุดประสงค์อะไร ดังนั้น ผู้ใหญ่ก็อาจเข้าไปชี้แนะเพื่อให้เด็กสามารถ เห็นวิธีที่เด็กจำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหา และหลังจากนั้นผู้ใหญ่ก็ค่อยๆ ถอยออกมา การสั่งห้ามมิให้เด็กปริปากพูดหรือการตำหนิเวลา เด็กพูดกับตนเองมักทำให้เด็กเล็กเก็บกดอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ซึ่งจะมีผลทำให้เด็กไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนหรืออ่านหนังสือ และเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กเก็บกดเหล่านี้ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ควบคุมอารมณ์ใดๆ ไม่ได้
การพูดกับตนเองมิได้เป็นกิจกรรมเดียวที่เด็กเล็กชอบทำ การมีโลกสมมติของตนเองก็เป็นกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้ใหญ่สามารถ พบเห็นได้บ่อยในชีวิตของเด็กเล็กทุกคน เช่น เวลาเล่นกับเพื่อน เด็กเล็กมักสมมติตนเองเป็นเทพเจ้า เป็นสัตว์ เป็นนางฟ้า หรือแม่มด ฯลฯ ความนึกคิดเช่นนี้ได้ทำให้นักจิตวิทยางุนงงและสงสัยมานานแล้วว่าเหตุใดเด็ก เล็กจึงมีโลกแห่งจินตนาการลักษณะนี้ด้วย
ในอดีตวงการจิตวิทยาได้ยอมรับในความคิดของ Freud และ Piaget ที่ว่าเด็กเล็กเป็นบุคคลที่ไม่มีเหตุและผลในการกระทำใดๆ เพราะเขาไม่สามารถจะลำดับขั้นตอนความเป็นเหตุเป็นผลของความนึกคิดต่างๆ ได้ และความนึกคิดของเด็กนั้น ส่วนใหญ่เป็น ความฝันและความปรารถนาที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ดังนั้น เด็กเล็กจึงไม่สามารถจำแนกเรื่องที่เป็นจินตนาการ ออกจากเรื่องจริงได้
แต่ ณ วันนี้ในหนังสือชื่อ The Work of Imagination ของ Paul L.Harris ที่จัดพิมพ์โดย Blackwell Oxford เมื่อ พ.ศ.2543 ได้มีรายงานการวิจัยที่แสดงว่าความคิดของ Freud และ Piaget เกี่ยวกับจิตนาการของเด็กเล็กนั้นผิดมโหฬาร
เพราะ Harris ได้พบว่า ถึงแม้เด็กเล็กจะมีอายุเพียง 2-3 ปี ก็สามารถที่จะรู้ว่า เรื่องจริงกับเรื่องฝันนั้นแตกต่างกันเพียงใด และตลอดเวลา ที่เขาสมมติตนเองเป็นอะไรก็ตาม เขาก็รู้ว่าเขากำลังสมมติ เขามิได้เป็นนางฟ้าหรือกระต่ายจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีอายุ 3 ขวบ สามารถบอกได้ว่าถ้าลูกหมีน้อยทำแก้วน้ำตก แก้วจะแตกและพื้นห้องจะเปียก เป็นต้น
Majorie Taylor เป็นนักจิตวิทยาอีกท่านหนึ่งที่เห็นพ้องกับแนวคิดของ Harris เมื่อเธอได้พบว่าเด็กเล็กรู้ตัวตลอดเวลาว่า การแสดงออกของเขาและเพื่อนในโลกสมมตินั้น เป็นเพียงการแสดงเท่านั้นหาใช่ชีวิตจริงไม่
ผลงานวิจัยเหล่านี้จึงได้ลบล้างความเชื่อโบราณที่ว่า เด็กที่ฝันเฟื่อง เป็นเด็กที่คิดอย่างไม่มีเหตุผล แต่ในขณะเดียวกันผลงาน วิจัยนี้ก็ได้ทำให้ผู้ใหญ่ต้องคิดต่อไปว่า ถ้าเด็กเล็กเข้าใจว่าอะไรจริงและอะไรสมมติแล้วละก็ เหตุใดเด็กเล็กบางคนในบางเวลา จึงต้องใช้เวลานาน เป็นชั่วโมงเพื่อแสดงละครฝันเช่นนั้นด้วย หรือเด็กเล็กชอบอยู่ในโลกแห่งความฝันมากกว่าโลกแห่งความจริง
ซึ่ง Harris ก็ได้ตอบคำถามนี้ว่า การแสดงละครสมมติของเด็กเล็กเป็นการแสดงที่มิได้มีสาเหตุจากความบกพร่องทางจิตใจ เพราะแม้แต่ ผู้ใหญ่เองก็ชอบมีจินตนาการมีโลกสมมติของตนเองเช่นกัน เช่น ชอบหนัง หรือตัวละครโทรทัศน์ถึงขนาดร้องไห้ เพราะซาบซึ้งใน ความรักของคุณหญิงกีรติในภาพยนตร์เรื่อง ข้างหลังภาพ หรือเกลียดนางริษยาทั้งหลายในละครทีวี เป็นต้น
เมื่อการมีโลกจินตนาการเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เช่นนี้ คำถามก็มีต่อไปว่า เหตุใดมนุษย์จึงต้องมีโลก สมมติเช่นนี้ด้วย คำตอบคงเป็นว่า เพื่อให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุข ทั้งๆ ที่เทพบุตรสุดหล่อ และเทพธิดาที่ สวยสง่าในฝันของเราหรือของเด็กเล็กก็ตาม ไม่มีตัวตนเลย

http://www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/sutut/child_img.html

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

12 จุดที่ควรระวังอันตรายสำหรับเด็กเล็ก

PDF พิมพ์ อีเมล์

บ้านคือวิมานของเรา แต่บางครั้งบางสถานการณ์บ้านกลายเป็นสถานที่อันตรายสำหรับเด็กๆ ได้เช่นกัน เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือประมาทเลินเล่อ

ในแต่ละปีเด็กไทย บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายในบ้านด้วยสาเหตุสำคัญอันดับแรกคือโครงสร้างบ้านและเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เช่น บันได ระเบียง พื้น ประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
นอกจากการจัดวางข้าวของเครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและบาดเจ็บของเด็ก โดยเกือบครึ่งหนึ่งของการตายด้วยอุบัติเหตุในเด็กนั้น มาจากสาเหตุการจมน้ำตาย ซึ่งเกิดขึ้นจากแหล่งน้ำในบ้าน เช่น กะละมัง ถังน้ำ อ่างน้ำ และแหล่งน้ำใกล้บ้าน เช่น ร่องน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ เป็นต้น

12 จุดที่ควรระวังอันตรายสำหรับเด็กเล็ก

  1. เก้าอี้ โซฟา
    เด็ก แรกเกิดเคลื่อนที่ได้จากการถีบขาดันสิ่งขวางกั้นต่างๆ ส่วนเด็กวัย 4-6 เดือนเริ่มพลิกคว่ำพลิกหงายได้ เป็นเหตุให้เกิดการพลัดตกจากเตียง เก้าอี้ หรือโซฟา หากจำเป็นต้องวางเด็กบนที่สูงเพื่อหยิบผ้าอ้อม หรือเตรียมนม ต้องวางมือข้างหนึ่งบนตัวเด็กไว้เสมอ

  2. เตียงเด็ก หรือเปล
    ซึ่ เปลที่มีความห่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายจากดิ้นของเด็กจนศีรษะเข้าไปติดค้างได้ บางครั้งอาจติดค้างระหว่างริมเบาะที่นอนกับผนังเปล หรือเบาะที่นอนด้านที่ชิดกำแพงได้ มุมเสาทั้ง 4 ด้านของเปลที่ยกสูงขึ้นมา อาจเกี่ยวรั้งเสื้อผ้าของด็ก และเกิดการแขวนรัดคอ จึงควรเลือกประเภทของเปลและจัดวางเบาะที่นอนให้เหมาะสมสำหรับเด็ก

  3. ความร้อน
    เด็ก ทารกอายุ 3-5 เดือน จะเริ่มคว้าสิ่งของและกำมือได้ เด็กอาจปัดหรือคว้าของร้อนเหล่านั้น เด็กในวัยเดิน หรือวิ่งได้อาจเอื้อมคว้าสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความร้อนและถูกความ ร้อนลวกได้ สิ่งที่พึงระวัง คืออย่าอุ้มเด็กขณะที่ถือของร้อน อย่าอุ้มเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป นั่งบนตักขณะมีของร้อนอยู่บนโต๊ะ เก็บสายไฟของกาน้ำร้อน อย่าให้ห้อยอยู่ต่ำในระดับที่เด็กสามารถดึงกระชากให้ล้ม

  4. หน้าต่าง
    เด็ก วัยเกาะยืนขึ้นไป อาจปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์ที่วางชิดหน้าต่าง และอาจพลัดตกลงไปได้ ควรปิดหน้าต่างหรือมุ้งลวดให้สนิท ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่ชิดกับหน้าต่าง

  5. บันได
    เด็ก วัย 6-12 เดือน จะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดีและเร็วขึ้นจากการกลิ้ง คืบคลาน เกาะเดิน และเดินได้เอง เมื่อเด็กเดินหรือวิ่งได้แล้วก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกบันได หกล้ม ชนกระแทก จึงควรตรวจสอบราวบันไดและระเบียงไม้ให้มีช่องห่างพอที่เด็กจะลอดได้
  6. สัตว์เลี้ยงในบ้าน
    เด็ก วัย 6 เดือนขึ้นไป มักสนใจสัตว์เลี้ยงต่างๆ ในบ้าน อาจถูกเลีย กัด ข่วน จากการจับ ดึง หรือแหย่สัตว์ได้ ไม่ควรปล่อยให้เด็กทารกอยู่ตามลำพังกับสัตว์เลี้ยง สอนเด็กไม่ให้รังแกสัตว์ เช่น ดึงหู ดึงหาง แย่งจานอาหาร ของเล่นสัตว์ และควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยง

  7. ประตูห้อง
    จัดว่าเป็นจุดอันตรายสำหรับเด็กวัยหัดคลาน หัดเดิน อาจถูกประตูหนีบมือได้ จึงควรจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันประตูหนีบมือ

  8. ห้องน้ำและภาชนะใส่น้ำ
    เด็ก ที่จมน้ำส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 10 ปี มักเกิดจากการเผลอชั่วขณะ หรือความประมาทของผู้เลี้ยงดู ห้ามให้เด็กนั่งเล่นน้ำตามลำพังในอ่างน้ำ ระดับน้ำสูงเพียง 5 ซม. ก็อาจจมน้ำได้ จึงควรกำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านและละแวกบ้าน หรือกั้นรั้ว กั้นประตู ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำได้ เช่น การเทน้ำในถังทิ้งไป การปิดฝาถังน้ำ การปิดประตูห้องน้ำ ปิดประตูหน้าบ้านหลังบ้านเพื่อไม่ให้เด็กคลานออกไปได้

  9. ตู้ ชั้นวางของ โต๊ะวางทีวี
    เด็ก วัย 1 - 2 ปี มีความสามารถในการปีนป่าย ยืนบนเก้าอี้เพื่อหยิบของบนที่สูงได้ และหนึ่งในนั้นอาจเป็นสารพิษ โต๊ะวางสิ่งของเหล่านี้จึงควรวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่าย หรือควรยึดโต๊ะด้วยสายยึดกับกำแพง เฟอร์นิเจอร์ต้องไม่มีมุมคม หากมีควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมของทุกมุม

  10. ประตู รั้วบ้าน ต้องมั่นคงไม่หลุดจากรางมาล้มทับเด็ก

  11. ห้องครัว
    ควรมีประตูกั้นเพื่อมิให้เด็กเข้าไปในบริเวณนั้นได้ อย่าวางของร้อนบนพื้นและของมีคมในที่เด็กเอื้อมมือถึง

  12. ปลั๊กไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า
    ควร ปิดที่ีเสียบปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ด้วยพลาสติคสำหรับปิด หรือติดตั้งกล่องครอบปลั๊กไฟ ต่อสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ตู้กดน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า และต่อเครื่องมือตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ 
 http://www.sudrak.com/index.php?option=com_content&task=view&id=253&Itemid=8

สอนลูกรัก ให้รู้จักชื่อตัวเอง


PDF พิมพ์ อีเมล์
ขอแนะนำกิจกรรมสำหรับคุณพ่อคุณแม่เพื่อสอนลูกให้รู้จักชื่อเล่นของตัวเอง ทั้งนี้การสอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเองนั้น เป็นการแนะนำลูกให้รู้จักตัวหนังสือ หรือพยัญชนะ ต่อไปในอนาคต เมื่อลูกไปเห็นหนังสือที่สนใจ สามารถทำให้ลูกอยากจะอ่านหรือหัดสะกดคำขึ้นมาบ้างก็ได้

อุปกรณ์ที่ต้องการ
- กระดาษ 1 แผ่น
- ดินสอ, ดินสอเทียน หรือ ปากกาเมจิคก็ได้

ต้องทำอย่างไรบ้าง?

1 ขั้นแรก เขียนชื่อเล่นของลูกลงบนกระดาษที่หามาให้ชัดๆ ตัวโตๆ

2 สะกดตัวพยัญชนะชื่อของลูกให้ลูกฟัง เช่น "แ…น…น" (เริ่มจากชื่อเล่นก่อน จะได้ง่ายต่อการสะกด) ถ้าคล่องแล้ว ค่อยเปลี่ยนไปเขียน และสะกดชื่อจริงของลูก) หรือจะเขียนไปสะกดไปพร้อมกันก็ได้

3 เมื่อสะกดเสร็จ ให้บออกกับลูกว่า "นี่ไงจ๊ะ ชื่อของหนู"

4 ทีนี้ให้ลูกลองวาดรูป รูปอะไรก็ได้ที่ลูกอยากวาด (ส่วนมากจะเป็น รูปพระอาทิตย์, รูปบ้าน, หรือรูปคน ถ้าลูกวาดไม่ค่อยได้ ก็ให้วาดวงกลม, สี่เหลี่ยม หรือเขียนเส้นยึกยัก อะไรก็ได้)

5 เมื่อลูกวาดเสร็จเรียบร้อย คุณแม่ทำเสียงน่าตื่นเต้นว่า "อ๊ะ แม่นึกอะไรออกแล้ว" (เพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจจากลูกตัวน้อย) "เอางี้ดีกว่า เรามาเขียนชื่อลูกใส่ลงไป ในรูปที่ลูกวาดเอามั้ยจ๊ะ" ทีนี้คุณแม่ก็เขียนชื่อลูกตัวโตๆ ลงไปบนรูปที่ลูกวาด ระหว่าง เขียนไปก็ค่อยๆ สะกดชื่อลูกไปทีละตัวอีกครั้ง พูดดังๆ ให้ลูกจำได้

6 ถ้าคุณแม่มีสติกเกอร์ตัวอักษรพยัญชนะ ก็ให้ลูกติดสติกเกอร์เป็นชื่อลูกในสถานที่ ที่คุณแม่อนุญาต และเห็นได้บ่อยๆ แล้วสะกดให้ลูกฟัง ให้ลูกพูดตาม อาจจะเป็น ตู้เสื้อผ้าของลูก, โต๊ะเขียนหนังสือของลูก, พนักเก้าอี้ลูก ฯ

7 ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์ชื่อลูกใส่กระดาษ แล้วไว้แปะไว้หน้าห้องลูก, หรือหลังพนัก เก้าอี้ที่ลูกนั่งเล่นบ่อยๆ

ไอเดียเล็กน้อยสำหรับพ่อแม่เพื่อสอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเอง

1 ถ้าคุณแม่ใช้แม่เหล็กติดตู้เย็นที่เป็นตัวอักษรชื่อของลูก ควรหาที่มีขนาดใหญ่สักนิด เพื่อกันไม่ให้ลูกเอาไปกลืน หรือหยิบเข้าปากอมเล่น เมื่อคุณแม่เปิดตู้เย็นหยิบขนม, น้ำให้ลูกทาน ก็ลองถามลูกว่า "เอ๊ะ นี่ชื่อใครเอ่ย…, สะกดว่าอย่างไรจ๊ะ… หรือ ไหน - อันไหน คือชื่อของลูกจ๊ะ"

2 ถ้าเป็นไปได้ ให้ปักชื่อลูกลงบนผ้าเช็ดตัว, หรือติดสติกเกอร์ชื่อลูกบนอุปกรณ์เครื่องเขียน ต่างๆ เช่น ดินสอ, ที่เหลาดินสอ, กล่องใส่ดินสอ, ดินสอสี หรือเครื่องใช้ในบ้านต่างๆ เท่าที่จะ เป็นไปได้ เพราะถ้าลูกกเห็นชื่อตัวเองบ่อยๆ ก็จะจำชื่อตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ถ้ามีลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ก็อาจติดชื่อลูกแต่ละคนลงบนเครื่องใช้ อุปกรณ์เครื่องเขียนของแต่ละคนก็ได้ แล้วลองเล่นเกม ให้ลูกหยิบของใช้ตามชื่อของตน "ไหนดินสอของน้องแนนคะ" เมื่อลูกหยิบ ถูกก็ชมเชยว่า "หนูเก่งจัง" ลูกก็จะเกิดความรู้สึกภูมิใจที่หยิบของใช้ถูก

3 เมื่อลูกเริ่มเรียนตัวพยัญชนะ ก, ข, ค ที่โรงเรียน ก็ลองถามลูกจากแผ่นพยัญชนะว่า "ไหน ชื่อของหนูมีตัวพยัญชนะอะไรบ้างคะ"

http://www.sudrak.com/index.php?option=com_content&task=view&id=254&Itemid=6

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

Brain Gym Exercises

กิจกรรมวนเทียนนำสมาธิ



กิจกรรมวนเทียนนำสมาธิเป็นกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆได้ฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ
รู้จักการเป็นผู้ให้ ผู้รับ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรมตลอดวัน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
คือช่วงอายุแรกเกิด – 6 ปี เพราะการพัฒนาสมองของเด็กในวัยนี้จะพัฒนาไปถึง80เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ครูควรจะจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย เด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้ผ่านการเล่นครูจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กโดยผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุขจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการที่เหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพทางสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
     การจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมอง และการทำงานให้ประสานสัมพันธ์กันของสมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา ดังนี้สมองซีกซ้ายจะควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ตรรกศาสตร์  การคิดวิเคราะห์
สมองซีกขวาจะควบคุมด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี  ระยะ  มิติ  ความคิดสร้างสรรค์
ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมอง  ทั้งสองซีกเข้าด้วยกันเพื่อให้มองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกันเด็กจะสามารถเรียนรู้    ได้ดีเป็นผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลในผลงาน   ชิ้นเดียวกัน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงสิ่งต่าง  ๆ ดังนี้
1.การเคลื่อนไหวของร่างกาย  การเดิน  การยืน  การวิ่ง การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
2.การรู้จักหาเหตุผล  ฝึกการสังเกต  เปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่ของในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ขนาด  ปริมาณ  ตัวเลขต่าง ๆ
3.มิติสัมพันธ์  การที่เด็กได้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของจริง  เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง  การเข้าใจความสัมพันธ์ของระยะ  ตำแหน่งและการมองเห็น  การสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว  เด็กจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
4.ภาษาและการสื่อสาร  เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริงจากการพูด การฟังการอ่านและการเขียน  การพูด  การฟังนิทาน  เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น
5.ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้รู้จักฟังดนตรีแยกแยะเสียงต่าง ๆ ร้องเพลง  เล่นเครื่องดนตรี  เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักจังหวะดนตรี
6.การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ แบ่งปันเข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
               
  บทบาทของผู้ปกครองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

1.เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
2.ให้เด็กได้มีโอกาสพูดในสิ่งที่คิดและได้ลงมือกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง          
3.ผู้ปกครองต้องรับฟังในสิ่งที่เด็กพูดด้วยความตั้งใจและพยายาม เข้าใจเด็ก         
4.ให้เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติเพื่อเปิดโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กได้กว้างมากขึ้น
 
   การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้น  องค์ประกอบที่สำคัญ  คือ อาหาร พันธุกรรม 
สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ  ให้เด็กได้มีโอกาสใช้ความคิดหลากหลายแบบ เช่น คิดแสวงหาความรู้  คิดวิเคราะห์  คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ผู้ปกครองและครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เด็กได้ฝึกการคิด อย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆเพิ่มเติม     เพื่อการพัฒนาสมองอย่างมีประสิทธิภาพ

 http://threenursenursery.com/article-001.php

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย

A.ภาวะปกติ:
1.1เด็กสะอึก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดถึงอายุ4-5เดือนมักเป็นหลังกินนมแก้ไขโดยให้ ดูดน้ำหรือนมเร็วเร็วการสะอึกจะน้อยลงแล้วหายไปเอง การสะอึกจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นจนหายไปเอง
1.2เด็กสำรอกนม,อาเจียน เด็กมักจะมีการสำรอกนมได้บ้างหลังวกินนมประมาณ1 ชม.เป็นนมที่ยังย่อยไม่เสร็จเป็นก้อนเล็กๆปนกับนำนมปริมาณไม่มากซึ่งไม่ใช่ ภาวะผิดปกติไม่ต้องวิตกกังวล  แต่ในทารกบางคนอาจมีการอาเจียนหลังกินนมทันทีซึ่งมีหลายสาเหตุ คือ 1 กินนมมากเกินไป เช่นลูกร้องเมื่อไหร่ให้กินนมทุกครั้งการที่ลูกร้องอาจไม่หิวก็ได้  นมล้นกระเพาะอาหารเด็กก็อาเจียนออกมาได้  2 ภาวะการไหลย้อนกลับของนมเนื่องจากหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเจริญไม่เต็มที่ ภาวะนี้ถ้าอาเจียนเล็กน้อยเด็กกินนมต่อได้ เจริญเติบโตดีไม่จำเป็นต้องให้ยา วิธีแก้ไขคือให้ลูกนอนหัวสูงเวลาให้นม หลังกินนมเสร็จอย่าเพิ่งจับเรอให้ลูกนอนนิ่งที่สุด ให้ลูกกินนมทีละน้อยแต่กินบ่อยให้อาหารเสริมเร็วที่อายุ3 เดือน อาหารหนักท้องเด็กจะไม่อาเจียน ภาวะนี้จะดีขึ้นตามวัย และหายได้เมื่ออายุ4-7 เดือน3.ภาวะการอุดตันของกระเพาะอาหาร  เด็กจะอาเจียนพุ่ง นำหนักลด ผอมลง ถ้าเด็กอาเจียนมากและเลี้ยงไม่โตครปรึกษาแพทย์
1.3เด็กถ่ายอุจจาระบ่อย จากการกินนมแม่ เด็กที่กินนมแม่อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง เละเละอาจมีนำปนเล็กน้อย ในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกจะถ่ายบ่อย 5-6ครั้ง/วันหลังจากนั้นจะถ่ายลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง/วัน ถ้าลูกกินนมแม่แล้วถ่ายลักษณะนี้ไม่ต้องกังวลใจ
1.4ภาวะรูก้นเป็นแผล[Anal Fissure] เนื่องจากเด็กเล็กมีการถ่ายบ่อยเกิดการระคายเคืองทำให้รอบรอบรูก้นเป็นแผล ได้ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมาเพราะลูกเจ็บแผลจึงไม่ยอมเบ่งถ่าย วิธีป้องกันคือ ใช้วาสลินทาบริเวณรูก้นให้ลูกหลังทำความสะอาดทุกครั้งแต่ถ้าก้นเป็นแผลแล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาทาลดการอักเสบและรักษาแผล
1.5ภาวะคัดจมูกในทารกเด็ก ทารกจะมีน้ำมูกในจมูกออกมาทุกวัน ควรเช็ดน้ำมูกให้ลูกหลังอาบน้ำเช้า-เย็นโดยใช้ไม้พันสำลีหรือกระดาษทิชชู่ ม้วนเล็กๆเช็ดให้ลูกเบาๆระวังไม้กระแทกจมูกลูกลูกจะเจ็บต่อไปอาจไม่ยอมให้ทำ อีก
1.6ภาวะร้อง 3 เดือนหรือการปวดท้องโคลิก ภาวะนี้อาจเกิดหลังจากออกจากโรงพยาบาลหรือเมื่ออายุ3-4 สัปดาห์เด็กจะร้องตอนหัวค่ำ ร้องเป็นพักๆนาน 1-3 ชั่วโมง ภาวะนี้เชื่อว่าเกิดจากเด็กมีการปวดท้องเมื่อลำไส้บีบตํวเด็กจะร้องเป็นพักๆ อาจเนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเจริญไม่เต็มที่ วิธีแก้ไข ควรอุ้มทารกพาดบ่า ปลอบโยนลูก อาจให้ญาติผู้ใหญ่ช่วยอุ้ม อย่าเครียดเพราะเด็กจะรับรู้และยิ่งร้องมาก ถ้าอุ้มเดินแล้วเด็กร้องน้อยลงจนหลับได้ก็ไม่ต้องให้ยาแต่ถ้าร้องมากอาจให้ ยาแก้ท้องอืด กล่มยา SIMETICON เด็กจะสบายขึ้นแต่ในรายที่ร้องมากอาจต้องให้ยาแก้ปวดท้องซึ่งต้องใช้ด้วย ความระมัดระวังควรปรึกษาแพทย์
1.7การมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดชั่วคราวในทารกแรกเกิดตั้งแต่ ลูกอยู่ในท้องจะได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากแม่ ฮอร์โมนนี้ทำให้มดลูกในเด็กผู้หญิงหนาตัว เมื่อเด็กคลอดออกมาฮอร์โมนจากแม่ลดลงอย่างรวดเร็วผนังมดลูกจะลอกตัวจึงมี เลอดออกทางช่อง ส่วนตกขาวและอวัยวะเพศบวมก็เกิดจากฮอร์โมนจากแม่เช่นกันเมื่อฮอร์โมนหมด ภาวะต่างๆเหล่านี้ก็จะหายไป
B.ภาวะผิดปกติ 
2.1 สะดืออักเสบ สายสะดือจะถูกตัดออกเมื่อลูกคลอดเหลือยาวประมาณ5 ซม. ควรเช็ดสะดือให้แห้งหลังอาบน้ำ เช็ดวันละ 2 ครั้งด้วยอัลกอฮอล์ เช้า เย็น เช็ดให้ถึงโคนไม่ต้องกลัวลูกเจ็บเวลาเช็ดสะดือลูกอาจจะร้องบ้างเพราะรู้สึก รำคาญแต่ลูกจะไม่เจ็บถ้าเช็ดสะดือดี จะหลุดภายใน7-10 วันแต่ถ้าเช็ดไม่สะอาด สะดือจะแฉะ อ้กเสบ ติดเชื้อ หลุดช้า ในบางรายการติดเชื้อรุกลามเข้ากระแสเลือดเป็นอันตราย
2.2ทารกนอนมากเกินไป ทารกปกตินอนวันละ 20-22 ชั่วโมง และจะตื่นมาร้องกินนมวันละ8 มื้อ ถ้าทารกนอนมากเกินไป ไม่ตื่นมาร้องกินนมภายใน4-5 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติควรพบแพทย์หาสาเหตุ ภาวะที่ทำให้เด็กมีอาการดังกล่าว เช่น
ภาวะฮอร์โมนทัยรอยด์ในเลือดต่ำ ตัวเหลืองมากเกิน การติดเชื้อ เป็นต้น
2.3ถุงน้ำตาอักเสบ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา พบได้บ่อยในทารกตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะมีน้ำตาไหลคลอตาข้างที่มีการอุดตัน อาจมีการอักเสบติดเชื้อมีขี้ตามาก วิธีแก้ไข ใช้นิ้วก้อยนวดหัวตาด้านจมูกโดยกดเบาๆจากหัวตาลงสู่จมูก20-30/ครั้ง วันละ 2-3 รอบ ใช้เวลา2-3 เดือนท่อนำตาจะเปิดเอง ถ้าอายุ10เดือนท่อน้ำตายังไม่เปิดจำเป็นต้องพบหมอตาเพื่อพิจารณาแยงท่อน้ำตา ให้เปิด
2.4ภาวะคอเอียง เกิดจากกลามเนื้อด้านหนึ่งมีการหดตัวมากกว่าปกติวิธีแก้ไขให้ จับลูกนอนหันไปทางด้านที่กล้ามเนื้อหดตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อยืดออก ทำทุกวัน ค้างไว้ 10วินาทีคอลูกจะกลับมาตรงได้ถ้าภายใน 6 เดือนไม่ดีขึ้นต้องรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อ
2.5มีเชื้อราในปากลักษณะ เป็นคราบสีขาวหนาที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจทำให้เด็กเจ็บและกินนมน้อยลง สาเหตุเกิดจากหลังกินนมจะมีนมเหลือค้างในปากทำให้เชื้อราเติบโต แก้ไขโดยหลังกินนมทุกครั้ง(โดยเฉพาะนมกระป๋อง)ควรให้ลูกกินน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อล้างปาก  ถ้าเป็นมากควรพบแพทย์เพื่อให้ยารักษาเชื้อรา
2.5ผื่นแพ้ผ้าอ้อม เด็กบางคนเมื่อใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอาจแพ้เป็นผื่นแดงบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม วิธีแก้ไขควรทาวาสลีนก่อนใส่ผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้ง ถ้าแพ้มากอาจต้องใช้ยาแก้แพ้ทาเด็กวัย 3  เดือนแรกนอนไม่ดิ้น กลางวันไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ใช้ผ้ายางปูใช้ผ้าอ้อมปูทับถ้าลูกขับถ่ายให้แช่ผ้าอ้อมในน้ำแล้วซัก กลางคืนค่อยใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=340321&Ntype=1
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
        เด็ก เกิดใหม่ส่วนมากจะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีทั้งตัวเหลืองมากและตัวเหลืองไม่มาก เด็กบางคนอาจต้องได้รับการส่องไฟรักษาเนื่องจาก มีระดับตัวเหลืองที่สูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองคงต้องเกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วตัวเหลืองเกิดจากอะไร รู้ได้อย่างไรว่าลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองเป็นอันตรายหรือไม่  การรักษาทำอย่างไร นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองหรือไม่
สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเหลือง      สีผิวในเด็กที่เหลืองขึ้นเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือด ไปทีตับ อาศัยเอนไซน์ในตับช่วยเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอน ก่อนที่จะลงไปในลำไส้และขับถ่ายออกมาทางอุจจาระและปัสสาวะ      ดังนั้นหากมีภาวะที่มีผลในขั้นตอนใดๆของการกำจัดบิลิรูบินก็ทำให้ทารกตัว เหลืองมากกว่าปกติ
     A  ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในทารกแรกเกิดพบ ได้ในทารกทุกคนทำให้ทารกตัวเหลืองเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องได้รับการส่องไฟมัก เหลืองเมื่ออายุ 3-5 วันแล้วจะค่อยๆเหลืองน้อยลง ภาวะนี้เกิดเนื่องจาก
             1 เด็กมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กมีความเข้มข้นของเลือด 50-60% ขณะที่ผู้ใหญ่มีความเข้มข้นของเลือด 33-40 % เมื่อเม็ดเลือดครบอายุก็จะแตก
             2.เม็ดเลือดแดงในเด็กมีอายุ 90 วัน ผู้ใหญ่ 120วัน ดังนั้นเม็ดเลือดแดงจึงอายุสั้นกว่า การแตกจึงมากกว่า
เมื่อรวมทั้ง2 ข้อข้างต้นเป็นสาเหตุของตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
   Bภาวะตัวเหลืองที่ต้องได้รับการรักษา                ถ้ามีภาวะที่มีผลต่อ บิลิรูบินในขั้นตอนต่างๆจะทำให้ทารกมีภาวะตัวเหลืองมากกว่าปกติคือ
                1.มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ สาเหตุมีหลายอย่างเช่น เด็กที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอดจะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะเลือดส่วนนี้ ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่แตกเพิ่มขึ้น   ,เม็ดเลือดแดงแตกมากเนื่องจากกรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่ตรงกันพบในแม่เลือดกรุ๊ป Oและลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B และภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมากเนื่องจากโรคเลือดคือ โรค ทาลัสซีเมีย ,โรคขาดเอนไซน์G6PDในเม็ดเลือดแดง
                2.การทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ
                3.ความผิดปกติที่ลำไส้เช่นภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึม บิลิรูบินกลับเข้ากระแสเลือดแทนที่จะขับถ่ายออกไปเด็กจึงตัวเหลือง
การวินิจฉัยโรคตัวเหลือง
1.การสังเกตุสีผิว เด็กจะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยค่อยไล่ลงมาที่ลลำตัว ไปขาและเท้า ถ้าเหลืองเฉพาะใบหน้าและลำตัว ถือว่าเหลืองไม่มากแต่ถ้าลงมาขาและเท้าถือว่าเหลืองมาก เวลาดูตัวเหลืองในเด็กทารกต้องกดผิวหนังลงดูที่ส่วนที่กดจะเห็นเป็นสีเหลือง เหตุที่ต้องกดผิวหนังลงเพราะเด็กตัวแดงทำให้ดูยาก ถ้าดูแล้วเห็นว่าเหลืองไม่มากไม่จำเป็นต้องตรวจเลือด แต่ถ้าเหลืองมากต้องเจาะเลือดตรวจ
2 การเจาะเลือดตรวจระดับตัวเหลือง หรือตรวจระดับบิลิรูบินในเลือด ถ้าระดับสูงต้องรักษาโดยการส่องไฟ การเจาะเลือดนี้ สามารถเจาะจากส้นเท้าหรือเจาะจากเส้นเลือดโดยตรง
การส่องไฟ (phototherapy)
เป็น การรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กทารก เนื่องจากแสงสามารถ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบิน ซึ่งปกติละลายน้ำไม่ได้ให้กลับกลายมาเป็นสารที่ละลายน้ำได้ สามารถขับถ่าย สารนี้ได้ทางปัสสาวะและทางอุจจาระโดยออกมาทางน้ำดี  หลังจากส่องไฟจะตรวจระดับตัวเหลืองวันละ1-2 ครั้งถ้าระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถหยุดส่องไฟได้

การส่องไฟทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ในทารก
            ก. ทารกอาจจะมีสีผิวคล้ำขึ้นจากการที่ต้องถูกแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน
            ข. ทารกอาจถ่ายเหลวจากการที่แสงที่ใช้ในการรักษา ทำให้มีการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ ทำให้มีการขาด enzyme lactase เป็นการชั่วคราว และจะดีขึ้นเมื่อหยุดการรักษา
            ค. ทารกมีภาวะเสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำ เพราะว่าอุณหภูมิรอบตัวของทารกสูงขึ้น จึงจะต้องมีการทดแทนโดยให้ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม หรือโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด
            ง. ทารกอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติหรือเป็นไข้ อาจต้องเลื่อนไปให้ห่างทารก
            จ. ทารกอาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัวเป็นการชั่วคราว            

           ฉ. ถ้าไม่ได้ปิดตาทารกให้มิดชิด อาจมีการบาดเจ็บเนื่องจากถูกแสงส่องนาน ดังนั้นการดูแลทารกในช่วงที่รับการส่องไฟ ก็ควรจะปิดตาทารกให้มิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายของแสงไฟสู่ดวงตาเด็ก
ควรให้ทารกดูดนมมากๆ และบ่อยๆ เพื่องดการเสียน้ำและเพิ่มการถ่ายอุจจาระ ถ้าทารกดูดหรือรับนม ไม่ได้หรือไม่ได้ดีก็ควรจะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด โดยต้องเพิ่มปริมาณน้ำอีก 30 %ของปริมาณปกติในแต่ละวัน
นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองได้หรือไม่     ในนำนมแม่มีสารบางอย่างที่อาจทำให้ลูกตัวเหลืองได้ แต่ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจากนมแม่นั้นไม่ทำให้ลูกมีอันตราย แต่ถ้าตัวเหลืองมากจริงๆ อาจต้องได้รับการส่องไฟรักษาเช่นเดียวกัน แพทย์อาจให้งดนมแม่ 2 วันช่วงเด็กส่องไฟ หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติลูกจะไม่กลับมาตัวเหลืองอีก
ภาวะตัวเหลืองมากมีอันตรายหรือไม่
     ภาวะที่มีระดับ บิลิรูบินสูงมากเกินไปสาร นี้สามารถเข้าไปที่สมองลูกได้ ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากทำให้เด็กมีอาการทางสมองจากภาวะตัวเหลืองได้(ภาษา อังกฤษเรียกว่า KERNICTERUS) และถ้าบิลิรูบินสูงเกิน 20 อาจมีผลต่อการได้ยินของเด็กได้เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ ความสนใจและรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด



http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=357635&Ntype=5

การนอนของเด็กในแต่ละวัย

การนอนของเด็กในแต่ละวัย

อายุ           ชั่วโมงการนอน(ชั่วโมง)
1 สัปดาห์                 
16.5
1 เดือน
15.5
3 เดือน
15
6 เดือน
14.25
9 เดือน
14
1 ปี
13.75
18 เดือน
13.5
2 ปี
13
3 ปี
12
4 ปี
11.5
5-9 ปี
10-11
10-15 ปี
9-10 ชั่วโมง

 http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=5&Id=534548286

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด