วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

12 จุดที่ควรระวังอันตรายสำหรับเด็กเล็ก

PDF พิมพ์ อีเมล์

บ้านคือวิมานของเรา แต่บางครั้งบางสถานการณ์บ้านกลายเป็นสถานที่อันตรายสำหรับเด็กๆ ได้เช่นกัน เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือประมาทเลินเล่อ

ในแต่ละปีเด็กไทย บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายในบ้านด้วยสาเหตุสำคัญอันดับแรกคือโครงสร้างบ้านและเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เช่น บันได ระเบียง พื้น ประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
นอกจากการจัดวางข้าวของเครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและบาดเจ็บของเด็ก โดยเกือบครึ่งหนึ่งของการตายด้วยอุบัติเหตุในเด็กนั้น มาจากสาเหตุการจมน้ำตาย ซึ่งเกิดขึ้นจากแหล่งน้ำในบ้าน เช่น กะละมัง ถังน้ำ อ่างน้ำ และแหล่งน้ำใกล้บ้าน เช่น ร่องน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ เป็นต้น

12 จุดที่ควรระวังอันตรายสำหรับเด็กเล็ก

  1. เก้าอี้ โซฟา
    เด็ก แรกเกิดเคลื่อนที่ได้จากการถีบขาดันสิ่งขวางกั้นต่างๆ ส่วนเด็กวัย 4-6 เดือนเริ่มพลิกคว่ำพลิกหงายได้ เป็นเหตุให้เกิดการพลัดตกจากเตียง เก้าอี้ หรือโซฟา หากจำเป็นต้องวางเด็กบนที่สูงเพื่อหยิบผ้าอ้อม หรือเตรียมนม ต้องวางมือข้างหนึ่งบนตัวเด็กไว้เสมอ

  2. เตียงเด็ก หรือเปล
    ซึ่ เปลที่มีความห่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายจากดิ้นของเด็กจนศีรษะเข้าไปติดค้างได้ บางครั้งอาจติดค้างระหว่างริมเบาะที่นอนกับผนังเปล หรือเบาะที่นอนด้านที่ชิดกำแพงได้ มุมเสาทั้ง 4 ด้านของเปลที่ยกสูงขึ้นมา อาจเกี่ยวรั้งเสื้อผ้าของด็ก และเกิดการแขวนรัดคอ จึงควรเลือกประเภทของเปลและจัดวางเบาะที่นอนให้เหมาะสมสำหรับเด็ก

  3. ความร้อน
    เด็ก ทารกอายุ 3-5 เดือน จะเริ่มคว้าสิ่งของและกำมือได้ เด็กอาจปัดหรือคว้าของร้อนเหล่านั้น เด็กในวัยเดิน หรือวิ่งได้อาจเอื้อมคว้าสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความร้อนและถูกความ ร้อนลวกได้ สิ่งที่พึงระวัง คืออย่าอุ้มเด็กขณะที่ถือของร้อน อย่าอุ้มเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป นั่งบนตักขณะมีของร้อนอยู่บนโต๊ะ เก็บสายไฟของกาน้ำร้อน อย่าให้ห้อยอยู่ต่ำในระดับที่เด็กสามารถดึงกระชากให้ล้ม

  4. หน้าต่าง
    เด็ก วัยเกาะยืนขึ้นไป อาจปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์ที่วางชิดหน้าต่าง และอาจพลัดตกลงไปได้ ควรปิดหน้าต่างหรือมุ้งลวดให้สนิท ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่ชิดกับหน้าต่าง

  5. บันได
    เด็ก วัย 6-12 เดือน จะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดีและเร็วขึ้นจากการกลิ้ง คืบคลาน เกาะเดิน และเดินได้เอง เมื่อเด็กเดินหรือวิ่งได้แล้วก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกบันได หกล้ม ชนกระแทก จึงควรตรวจสอบราวบันไดและระเบียงไม้ให้มีช่องห่างพอที่เด็กจะลอดได้
  6. สัตว์เลี้ยงในบ้าน
    เด็ก วัย 6 เดือนขึ้นไป มักสนใจสัตว์เลี้ยงต่างๆ ในบ้าน อาจถูกเลีย กัด ข่วน จากการจับ ดึง หรือแหย่สัตว์ได้ ไม่ควรปล่อยให้เด็กทารกอยู่ตามลำพังกับสัตว์เลี้ยง สอนเด็กไม่ให้รังแกสัตว์ เช่น ดึงหู ดึงหาง แย่งจานอาหาร ของเล่นสัตว์ และควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยง

  7. ประตูห้อง
    จัดว่าเป็นจุดอันตรายสำหรับเด็กวัยหัดคลาน หัดเดิน อาจถูกประตูหนีบมือได้ จึงควรจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันประตูหนีบมือ

  8. ห้องน้ำและภาชนะใส่น้ำ
    เด็ก ที่จมน้ำส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 10 ปี มักเกิดจากการเผลอชั่วขณะ หรือความประมาทของผู้เลี้ยงดู ห้ามให้เด็กนั่งเล่นน้ำตามลำพังในอ่างน้ำ ระดับน้ำสูงเพียง 5 ซม. ก็อาจจมน้ำได้ จึงควรกำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านและละแวกบ้าน หรือกั้นรั้ว กั้นประตู ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำได้ เช่น การเทน้ำในถังทิ้งไป การปิดฝาถังน้ำ การปิดประตูห้องน้ำ ปิดประตูหน้าบ้านหลังบ้านเพื่อไม่ให้เด็กคลานออกไปได้

  9. ตู้ ชั้นวางของ โต๊ะวางทีวี
    เด็ก วัย 1 - 2 ปี มีความสามารถในการปีนป่าย ยืนบนเก้าอี้เพื่อหยิบของบนที่สูงได้ และหนึ่งในนั้นอาจเป็นสารพิษ โต๊ะวางสิ่งของเหล่านี้จึงควรวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่าย หรือควรยึดโต๊ะด้วยสายยึดกับกำแพง เฟอร์นิเจอร์ต้องไม่มีมุมคม หากมีควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมของทุกมุม

  10. ประตู รั้วบ้าน ต้องมั่นคงไม่หลุดจากรางมาล้มทับเด็ก

  11. ห้องครัว
    ควรมีประตูกั้นเพื่อมิให้เด็กเข้าไปในบริเวณนั้นได้ อย่าวางของร้อนบนพื้นและของมีคมในที่เด็กเอื้อมมือถึง

  12. ปลั๊กไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า
    ควร ปิดที่ีเสียบปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ด้วยพลาสติคสำหรับปิด หรือติดตั้งกล่องครอบปลั๊กไฟ ต่อสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ตู้กดน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า และต่อเครื่องมือตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ 
 http://www.sudrak.com/index.php?option=com_content&task=view&id=253&Itemid=8

สอนลูกรัก ให้รู้จักชื่อตัวเอง


PDF พิมพ์ อีเมล์
ขอแนะนำกิจกรรมสำหรับคุณพ่อคุณแม่เพื่อสอนลูกให้รู้จักชื่อเล่นของตัวเอง ทั้งนี้การสอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเองนั้น เป็นการแนะนำลูกให้รู้จักตัวหนังสือ หรือพยัญชนะ ต่อไปในอนาคต เมื่อลูกไปเห็นหนังสือที่สนใจ สามารถทำให้ลูกอยากจะอ่านหรือหัดสะกดคำขึ้นมาบ้างก็ได้

อุปกรณ์ที่ต้องการ
- กระดาษ 1 แผ่น
- ดินสอ, ดินสอเทียน หรือ ปากกาเมจิคก็ได้

ต้องทำอย่างไรบ้าง?

1 ขั้นแรก เขียนชื่อเล่นของลูกลงบนกระดาษที่หามาให้ชัดๆ ตัวโตๆ

2 สะกดตัวพยัญชนะชื่อของลูกให้ลูกฟัง เช่น "แ…น…น" (เริ่มจากชื่อเล่นก่อน จะได้ง่ายต่อการสะกด) ถ้าคล่องแล้ว ค่อยเปลี่ยนไปเขียน และสะกดชื่อจริงของลูก) หรือจะเขียนไปสะกดไปพร้อมกันก็ได้

3 เมื่อสะกดเสร็จ ให้บออกกับลูกว่า "นี่ไงจ๊ะ ชื่อของหนู"

4 ทีนี้ให้ลูกลองวาดรูป รูปอะไรก็ได้ที่ลูกอยากวาด (ส่วนมากจะเป็น รูปพระอาทิตย์, รูปบ้าน, หรือรูปคน ถ้าลูกวาดไม่ค่อยได้ ก็ให้วาดวงกลม, สี่เหลี่ยม หรือเขียนเส้นยึกยัก อะไรก็ได้)

5 เมื่อลูกวาดเสร็จเรียบร้อย คุณแม่ทำเสียงน่าตื่นเต้นว่า "อ๊ะ แม่นึกอะไรออกแล้ว" (เพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจจากลูกตัวน้อย) "เอางี้ดีกว่า เรามาเขียนชื่อลูกใส่ลงไป ในรูปที่ลูกวาดเอามั้ยจ๊ะ" ทีนี้คุณแม่ก็เขียนชื่อลูกตัวโตๆ ลงไปบนรูปที่ลูกวาด ระหว่าง เขียนไปก็ค่อยๆ สะกดชื่อลูกไปทีละตัวอีกครั้ง พูดดังๆ ให้ลูกจำได้

6 ถ้าคุณแม่มีสติกเกอร์ตัวอักษรพยัญชนะ ก็ให้ลูกติดสติกเกอร์เป็นชื่อลูกในสถานที่ ที่คุณแม่อนุญาต และเห็นได้บ่อยๆ แล้วสะกดให้ลูกฟัง ให้ลูกพูดตาม อาจจะเป็น ตู้เสื้อผ้าของลูก, โต๊ะเขียนหนังสือของลูก, พนักเก้าอี้ลูก ฯ

7 ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์ชื่อลูกใส่กระดาษ แล้วไว้แปะไว้หน้าห้องลูก, หรือหลังพนัก เก้าอี้ที่ลูกนั่งเล่นบ่อยๆ

ไอเดียเล็กน้อยสำหรับพ่อแม่เพื่อสอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเอง

1 ถ้าคุณแม่ใช้แม่เหล็กติดตู้เย็นที่เป็นตัวอักษรชื่อของลูก ควรหาที่มีขนาดใหญ่สักนิด เพื่อกันไม่ให้ลูกเอาไปกลืน หรือหยิบเข้าปากอมเล่น เมื่อคุณแม่เปิดตู้เย็นหยิบขนม, น้ำให้ลูกทาน ก็ลองถามลูกว่า "เอ๊ะ นี่ชื่อใครเอ่ย…, สะกดว่าอย่างไรจ๊ะ… หรือ ไหน - อันไหน คือชื่อของลูกจ๊ะ"

2 ถ้าเป็นไปได้ ให้ปักชื่อลูกลงบนผ้าเช็ดตัว, หรือติดสติกเกอร์ชื่อลูกบนอุปกรณ์เครื่องเขียน ต่างๆ เช่น ดินสอ, ที่เหลาดินสอ, กล่องใส่ดินสอ, ดินสอสี หรือเครื่องใช้ในบ้านต่างๆ เท่าที่จะ เป็นไปได้ เพราะถ้าลูกกเห็นชื่อตัวเองบ่อยๆ ก็จะจำชื่อตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ถ้ามีลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ก็อาจติดชื่อลูกแต่ละคนลงบนเครื่องใช้ อุปกรณ์เครื่องเขียนของแต่ละคนก็ได้ แล้วลองเล่นเกม ให้ลูกหยิบของใช้ตามชื่อของตน "ไหนดินสอของน้องแนนคะ" เมื่อลูกหยิบ ถูกก็ชมเชยว่า "หนูเก่งจัง" ลูกก็จะเกิดความรู้สึกภูมิใจที่หยิบของใช้ถูก

3 เมื่อลูกเริ่มเรียนตัวพยัญชนะ ก, ข, ค ที่โรงเรียน ก็ลองถามลูกจากแผ่นพยัญชนะว่า "ไหน ชื่อของหนูมีตัวพยัญชนะอะไรบ้างคะ"

http://www.sudrak.com/index.php?option=com_content&task=view&id=254&Itemid=6