วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหานิสัยแปรปรวน

ปัญหานิสัยแปรปรวน
          ๑. การส่ายศีรษะ โยกตัว เขย่าตัว พบในวัยเด็ก ๓-๔ เดือนขึ้นไป  อาการมักหายไปเมื่อวัย     ๒ ๑/  -  ๓ ปี พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง  อาการเกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์โกรธหรือถูกขัดใจ  อาจพบในเด็กปัญญาอ่อน เด็กตาบอด หรือถูกทอดทิ้ง
          การช่วยเหลือ บางรายแพทย์ใช้ยาช่วยชั่วคราว และควรหาสาเหตุที่กระเทือนใจเด็ก ให้ความสนใจ และเล่นกับเขามากขึ้น หาทางให้เขาโยกตัวและเคลื่อนไหวอย่างมีความหมาย เช่น เปิดดนตรีให้เข้าจังหวะเต้นรำ หรือเล่นชิงช้า เป็นต้น
          ๒. การดูดนิ้ว มักเกิดเวลาง่วงหรือดูอะไรเพลินๆ บางครั้งดึงหู ไชหู จับผ้าอ้อมผ้าห่ม ฯลฯ นอกจากนี้อาจเกิดเวลาอารมณ์เครียด โกรธ เสียใจผิดหวัง  การลงโทษด้วยการทาบอระเพ็ดหรือเอาผ้าพันนิ้ว ล้วนเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง อาจช่วยเหลือโดย หาสิ่งอื่นมาทดแทนให้จับ หรือหาทางช่วย
          ๓. การกัดเล็บ พบมากในวัยรุ่น มักเกิดจากความเครียดทางอารมณ์  ควรช่วยเหลือโดยลดบรรยากาศตึงเครียดในครอบครัว  ตัดแต่งเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ให้กำลังใจเด็ก หรือหาสิ่งอื่นมาทดแทนเมื่อจำเป็น เช่น ลูกอม หมากฝรั่ง เป็นต้น
          ๔. การแสดงอารมณ์รุนแรง เมื่อถูกขัดใจหรือไม่สมหวัง พบในเด็กอายุ ๒ - ๓ ๑/ ปี เมื่อต้องการให้แม่ซื้อของเล่น แล้วไม่ได้อย่างใจ เด็กจะกรีดร้องเสียงดัง ทุ่มตัวนอนดิ้น บางคนขว้างปา ทุบตีคน หรือวัตถุ วิธีแก้ไข ผู้ใหญ่ควรมีทีท่าที่สงบและไม่ให้อะไรแก่เด็ก  ไม่ดุไม่ลงโทษ เมื่อเด็กสงบแล้ว  อธิบายให้เด็กเข้าใจ  นอกจากนี้ผู้ใหญ่ต้องสำรวจตัวเองว่าไม่ได้แสดงความโมโหร้ายหรือเจ้าอารมณ์ ให้เป็นตัวอย่างแก่เด็ก และไม่ตามใจ หรือเข้มงวดแก่เด็กเกินไป
          ๕. หายใจดั้น  เด็กอายุเกิน ๖ เดือนขึ้นไปจนถึง ๓-๔ ปี อาจมีอาการร้องแล้วกลั้นหายใจนิ่งเงียบจนหน้าเขียว ตัวเกร็ง กระตุก สักพักหนึ่งแล้วจึงร้องดังต่อไป ผู้ใหญ่ควรช่วยเหลือโดยไม่ตกใจหรือกังวลตบตามตัวเด็ก  ใช้น้ำแข็งแตะ จับตัวเขย่า เมื่อเด็ก หายใจได้ก็ปลอดภัย ผู้ใหญ่ไม่ควรให้สิ่งที่เด็กต้องการเมื่อเด็กใช้วิธีนี้
          ๖. การดึงหรือถอนผมและขน  พบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย เกิดในวัย   ๒-๓  ปี  จนถึงวัยรุ่นส่วนมากเกิดอาการเมื่อมีความตึงเครียดทางอารมณ์ หรือเวลาที่เพลินไม่รู้ตัว ส่วนมากพบว่ามีปัญหาในครอบครัว ช่วยเหลือโดยการปรับปรุงความสัมพันธ์ในครอบครัวและแก้ไขท่าทีต่อเด็ก  หรืออาจตัดผมให้สั้นเพื่อดึงยาก  ควรตรวจว่าไม่มีโรคผิวหนังหรือโรคของรากผม  ส่วนแพทย์อาจใช้ยาสงบประสาทช่วย
          ๕. การเขม่น  หรือกระตุกที่กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลำคอ ไหล่ แขน เช่น ขยิบตา กระแอม ยักไหล่ ทำจมูกฟุดฟิด พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ในวัยระหว่าง ๘-๑๒ ปี สาเหตุเนื่องจากความตึงเครียดทางอารมณ์ มักเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบสูง ตื่นเต้นตกใจง่าย เจ้าอารมณ์ ซุกซนหรือชอบล้อเลียนผู้อื่น จนติดนิสัย ส่วนมากอาการไม่รุนแรง จะหายได้เอง
          ๖. การพูดติดอ่าง เนื่องจากไม่สามารถใช้คำพูด และคำศัพท์ต่างๆ ได้ทันใจคิด บางครั้งเป็นผลมาจากการล้อเลียน การถูกลงโทษ หรือการตกใจอย่างรุนแรง  อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย  เช่น  อาการกลัว  อาเจียน ฯลฯ ช่วยเหลือได้โดยไม่คอยจับผิดการพูด  ไม่ดุหรือลงโทษ  เพราะจะทำให้ตึงเครียดยิ่งขึ้น ช่วยสอนคำศัพท์เพิ่มเติมให้ เด็กโตควรช่วยด้าน จิตบำบัด ฝึกพูด บริหารกล้ามเนื้อ  เช่น ร้องเพลงว่ายน้ำร่วมด้วย ร้อยละ ๘๐ ของเด็กติดอ่างจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัย
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ การให้เด็กเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีครูและผู้ปกครอง อยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะที่เหมาะสม ซอร์ฟแวร์ที่นำมาใช้จะต้องเป็นเรื่องของการศึกษา จึงจะพัฒนาเด็ก ได้จริงตามจุดประสงค์ของการเรียน สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เน้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูล ข่าวสารเป็นเหตุให้โรงเรียนต่างๆเริ่มให้มีการใช้คอมพิวเตอร์และมีโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ทางเทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่ใช้กับเด็กได้ทุกวัยมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ กับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆทั้งเพื่อเป็นการฝึกทักษะให้กับเด็ก เช่น การสร้างสัมพันธภาพการเรียนรู้ ทางพุทธิปัญญา การคิดเลข และใช้เพื่อการฝึกความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยในการ ใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กันเมื่อเด็กใช้แล้วเด็กยังได้พัฒนาทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ด้วย จุดประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็กปฐมวัยมุ่งฝึกเด็กให้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ความคิดและทักษะต่างๆมากกว่าการหัดให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
1. ทำให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบด้วยความสนุก เช่น การเรียนคำศัพท์
2. ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทดลองฝึกผสมสี โดยไม่เปลืองดินสอสี จากโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่มีข้อเสีย คือการใช้ทักษะของมือ
3. การใช้ภาพ รูปร่าง เด็กสามารถเรียนรู้ถ่ายโยงมาสู่เรื่องใหม่ๆได้ ทำให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง ทำให้ ฝึกคิคค้นการแก้ปัญหาได้ดีอย่างไรก็ตามในการฝึกทักษะนี้ครูสามารถเลือกเกม ต่างๆที่สามารถฝึก
ทักษะเด็กที่ต้องการได้ 
สรุป
การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้ไม่ใช่การเป็นการเรียนการใช้
คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่ เช่น การสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงว่าเก่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังกับคอมพิวเตอร์จะเป็นเหตุให้เด็กขาดสติปัญญา เด็กควรได้เรียนมากกว่า การให้เล่นเกม ควรฝึกวินัยเด็กให้รู้ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ โรคติดคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เกิดจาก
เด็กติดอินเตอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งนับ เป็นโรคอย่างหนึ่งที่เป็นการเสพติดจริงๆควรใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเพื่อการเสริมการเรียนรู้ไนเรื่องที่สนใจเท่านั้น ครูและผู้ปกครองต้องเข้าใจและปลูกฝัง ให้กับเด็กให้ถูกทาง ต้องจำกัดเวลาที่เหมาะกับเด็กในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์อย่าลืมว่าเด็กต้อง พัฒนา
ในทุกด้าน การใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีครูหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะและได้สนทนา
ร่วมกันเสมอ

ที่มา: http://www.saidaroon.ac.th/academic.php?aca=article11