วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

Brain Gym Exercises

กิจกรรมวนเทียนนำสมาธิ



กิจกรรมวนเทียนนำสมาธิเป็นกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆได้ฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ
รู้จักการเป็นผู้ให้ ผู้รับ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรมตลอดวัน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
คือช่วงอายุแรกเกิด – 6 ปี เพราะการพัฒนาสมองของเด็กในวัยนี้จะพัฒนาไปถึง80เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ครูควรจะจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย เด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้ผ่านการเล่นครูจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กโดยผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุขจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการที่เหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพทางสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
     การจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมอง และการทำงานให้ประสานสัมพันธ์กันของสมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา ดังนี้สมองซีกซ้ายจะควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ตรรกศาสตร์  การคิดวิเคราะห์
สมองซีกขวาจะควบคุมด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี  ระยะ  มิติ  ความคิดสร้างสรรค์
ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมอง  ทั้งสองซีกเข้าด้วยกันเพื่อให้มองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกันเด็กจะสามารถเรียนรู้    ได้ดีเป็นผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลในผลงาน   ชิ้นเดียวกัน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงสิ่งต่าง  ๆ ดังนี้
1.การเคลื่อนไหวของร่างกาย  การเดิน  การยืน  การวิ่ง การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
2.การรู้จักหาเหตุผล  ฝึกการสังเกต  เปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่ของในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ขนาด  ปริมาณ  ตัวเลขต่าง ๆ
3.มิติสัมพันธ์  การที่เด็กได้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของจริง  เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง  การเข้าใจความสัมพันธ์ของระยะ  ตำแหน่งและการมองเห็น  การสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว  เด็กจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
4.ภาษาและการสื่อสาร  เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริงจากการพูด การฟังการอ่านและการเขียน  การพูด  การฟังนิทาน  เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น
5.ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้รู้จักฟังดนตรีแยกแยะเสียงต่าง ๆ ร้องเพลง  เล่นเครื่องดนตรี  เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักจังหวะดนตรี
6.การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ แบ่งปันเข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
               
  บทบาทของผู้ปกครองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

1.เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
2.ให้เด็กได้มีโอกาสพูดในสิ่งที่คิดและได้ลงมือกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง          
3.ผู้ปกครองต้องรับฟังในสิ่งที่เด็กพูดด้วยความตั้งใจและพยายาม เข้าใจเด็ก         
4.ให้เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติเพื่อเปิดโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กได้กว้างมากขึ้น
 
   การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้น  องค์ประกอบที่สำคัญ  คือ อาหาร พันธุกรรม 
สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ  ให้เด็กได้มีโอกาสใช้ความคิดหลากหลายแบบ เช่น คิดแสวงหาความรู้  คิดวิเคราะห์  คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ผู้ปกครองและครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เด็กได้ฝึกการคิด อย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆเพิ่มเติม     เพื่อการพัฒนาสมองอย่างมีประสิทธิภาพ

 http://threenursenursery.com/article-001.php

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย

A.ภาวะปกติ:
1.1เด็กสะอึก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดถึงอายุ4-5เดือนมักเป็นหลังกินนมแก้ไขโดยให้ ดูดน้ำหรือนมเร็วเร็วการสะอึกจะน้อยลงแล้วหายไปเอง การสะอึกจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นจนหายไปเอง
1.2เด็กสำรอกนม,อาเจียน เด็กมักจะมีการสำรอกนมได้บ้างหลังวกินนมประมาณ1 ชม.เป็นนมที่ยังย่อยไม่เสร็จเป็นก้อนเล็กๆปนกับนำนมปริมาณไม่มากซึ่งไม่ใช่ ภาวะผิดปกติไม่ต้องวิตกกังวล  แต่ในทารกบางคนอาจมีการอาเจียนหลังกินนมทันทีซึ่งมีหลายสาเหตุ คือ 1 กินนมมากเกินไป เช่นลูกร้องเมื่อไหร่ให้กินนมทุกครั้งการที่ลูกร้องอาจไม่หิวก็ได้  นมล้นกระเพาะอาหารเด็กก็อาเจียนออกมาได้  2 ภาวะการไหลย้อนกลับของนมเนื่องจากหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเจริญไม่เต็มที่ ภาวะนี้ถ้าอาเจียนเล็กน้อยเด็กกินนมต่อได้ เจริญเติบโตดีไม่จำเป็นต้องให้ยา วิธีแก้ไขคือให้ลูกนอนหัวสูงเวลาให้นม หลังกินนมเสร็จอย่าเพิ่งจับเรอให้ลูกนอนนิ่งที่สุด ให้ลูกกินนมทีละน้อยแต่กินบ่อยให้อาหารเสริมเร็วที่อายุ3 เดือน อาหารหนักท้องเด็กจะไม่อาเจียน ภาวะนี้จะดีขึ้นตามวัย และหายได้เมื่ออายุ4-7 เดือน3.ภาวะการอุดตันของกระเพาะอาหาร  เด็กจะอาเจียนพุ่ง นำหนักลด ผอมลง ถ้าเด็กอาเจียนมากและเลี้ยงไม่โตครปรึกษาแพทย์
1.3เด็กถ่ายอุจจาระบ่อย จากการกินนมแม่ เด็กที่กินนมแม่อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง เละเละอาจมีนำปนเล็กน้อย ในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกจะถ่ายบ่อย 5-6ครั้ง/วันหลังจากนั้นจะถ่ายลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง/วัน ถ้าลูกกินนมแม่แล้วถ่ายลักษณะนี้ไม่ต้องกังวลใจ
1.4ภาวะรูก้นเป็นแผล[Anal Fissure] เนื่องจากเด็กเล็กมีการถ่ายบ่อยเกิดการระคายเคืองทำให้รอบรอบรูก้นเป็นแผล ได้ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมาเพราะลูกเจ็บแผลจึงไม่ยอมเบ่งถ่าย วิธีป้องกันคือ ใช้วาสลินทาบริเวณรูก้นให้ลูกหลังทำความสะอาดทุกครั้งแต่ถ้าก้นเป็นแผลแล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาทาลดการอักเสบและรักษาแผล
1.5ภาวะคัดจมูกในทารกเด็ก ทารกจะมีน้ำมูกในจมูกออกมาทุกวัน ควรเช็ดน้ำมูกให้ลูกหลังอาบน้ำเช้า-เย็นโดยใช้ไม้พันสำลีหรือกระดาษทิชชู่ ม้วนเล็กๆเช็ดให้ลูกเบาๆระวังไม้กระแทกจมูกลูกลูกจะเจ็บต่อไปอาจไม่ยอมให้ทำ อีก
1.6ภาวะร้อง 3 เดือนหรือการปวดท้องโคลิก ภาวะนี้อาจเกิดหลังจากออกจากโรงพยาบาลหรือเมื่ออายุ3-4 สัปดาห์เด็กจะร้องตอนหัวค่ำ ร้องเป็นพักๆนาน 1-3 ชั่วโมง ภาวะนี้เชื่อว่าเกิดจากเด็กมีการปวดท้องเมื่อลำไส้บีบตํวเด็กจะร้องเป็นพักๆ อาจเนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเจริญไม่เต็มที่ วิธีแก้ไข ควรอุ้มทารกพาดบ่า ปลอบโยนลูก อาจให้ญาติผู้ใหญ่ช่วยอุ้ม อย่าเครียดเพราะเด็กจะรับรู้และยิ่งร้องมาก ถ้าอุ้มเดินแล้วเด็กร้องน้อยลงจนหลับได้ก็ไม่ต้องให้ยาแต่ถ้าร้องมากอาจให้ ยาแก้ท้องอืด กล่มยา SIMETICON เด็กจะสบายขึ้นแต่ในรายที่ร้องมากอาจต้องให้ยาแก้ปวดท้องซึ่งต้องใช้ด้วย ความระมัดระวังควรปรึกษาแพทย์
1.7การมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดชั่วคราวในทารกแรกเกิดตั้งแต่ ลูกอยู่ในท้องจะได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากแม่ ฮอร์โมนนี้ทำให้มดลูกในเด็กผู้หญิงหนาตัว เมื่อเด็กคลอดออกมาฮอร์โมนจากแม่ลดลงอย่างรวดเร็วผนังมดลูกจะลอกตัวจึงมี เลอดออกทางช่อง ส่วนตกขาวและอวัยวะเพศบวมก็เกิดจากฮอร์โมนจากแม่เช่นกันเมื่อฮอร์โมนหมด ภาวะต่างๆเหล่านี้ก็จะหายไป
B.ภาวะผิดปกติ 
2.1 สะดืออักเสบ สายสะดือจะถูกตัดออกเมื่อลูกคลอดเหลือยาวประมาณ5 ซม. ควรเช็ดสะดือให้แห้งหลังอาบน้ำ เช็ดวันละ 2 ครั้งด้วยอัลกอฮอล์ เช้า เย็น เช็ดให้ถึงโคนไม่ต้องกลัวลูกเจ็บเวลาเช็ดสะดือลูกอาจจะร้องบ้างเพราะรู้สึก รำคาญแต่ลูกจะไม่เจ็บถ้าเช็ดสะดือดี จะหลุดภายใน7-10 วันแต่ถ้าเช็ดไม่สะอาด สะดือจะแฉะ อ้กเสบ ติดเชื้อ หลุดช้า ในบางรายการติดเชื้อรุกลามเข้ากระแสเลือดเป็นอันตราย
2.2ทารกนอนมากเกินไป ทารกปกตินอนวันละ 20-22 ชั่วโมง และจะตื่นมาร้องกินนมวันละ8 มื้อ ถ้าทารกนอนมากเกินไป ไม่ตื่นมาร้องกินนมภายใน4-5 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติควรพบแพทย์หาสาเหตุ ภาวะที่ทำให้เด็กมีอาการดังกล่าว เช่น
ภาวะฮอร์โมนทัยรอยด์ในเลือดต่ำ ตัวเหลืองมากเกิน การติดเชื้อ เป็นต้น
2.3ถุงน้ำตาอักเสบ เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำตา พบได้บ่อยในทารกตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะมีน้ำตาไหลคลอตาข้างที่มีการอุดตัน อาจมีการอักเสบติดเชื้อมีขี้ตามาก วิธีแก้ไข ใช้นิ้วก้อยนวดหัวตาด้านจมูกโดยกดเบาๆจากหัวตาลงสู่จมูก20-30/ครั้ง วันละ 2-3 รอบ ใช้เวลา2-3 เดือนท่อนำตาจะเปิดเอง ถ้าอายุ10เดือนท่อน้ำตายังไม่เปิดจำเป็นต้องพบหมอตาเพื่อพิจารณาแยงท่อน้ำตา ให้เปิด
2.4ภาวะคอเอียง เกิดจากกลามเนื้อด้านหนึ่งมีการหดตัวมากกว่าปกติวิธีแก้ไขให้ จับลูกนอนหันไปทางด้านที่กล้ามเนื้อหดตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อยืดออก ทำทุกวัน ค้างไว้ 10วินาทีคอลูกจะกลับมาตรงได้ถ้าภายใน 6 เดือนไม่ดีขึ้นต้องรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อ
2.5มีเชื้อราในปากลักษณะ เป็นคราบสีขาวหนาที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจทำให้เด็กเจ็บและกินนมน้อยลง สาเหตุเกิดจากหลังกินนมจะมีนมเหลือค้างในปากทำให้เชื้อราเติบโต แก้ไขโดยหลังกินนมทุกครั้ง(โดยเฉพาะนมกระป๋อง)ควรให้ลูกกินน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อล้างปาก  ถ้าเป็นมากควรพบแพทย์เพื่อให้ยารักษาเชื้อรา
2.5ผื่นแพ้ผ้าอ้อม เด็กบางคนเมื่อใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอาจแพ้เป็นผื่นแดงบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม วิธีแก้ไขควรทาวาสลีนก่อนใส่ผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้ง ถ้าแพ้มากอาจต้องใช้ยาแก้แพ้ทาเด็กวัย 3  เดือนแรกนอนไม่ดิ้น กลางวันไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ใช้ผ้ายางปูใช้ผ้าอ้อมปูทับถ้าลูกขับถ่ายให้แช่ผ้าอ้อมในน้ำแล้วซัก กลางคืนค่อยใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=340321&Ntype=1
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
        เด็ก เกิดใหม่ส่วนมากจะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีทั้งตัวเหลืองมากและตัวเหลืองไม่มาก เด็กบางคนอาจต้องได้รับการส่องไฟรักษาเนื่องจาก มีระดับตัวเหลืองที่สูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองคงต้องเกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วตัวเหลืองเกิดจากอะไร รู้ได้อย่างไรว่าลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองเป็นอันตรายหรือไม่  การรักษาทำอย่างไร นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองหรือไม่
สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเหลือง      สีผิวในเด็กที่เหลืองขึ้นเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือด ไปทีตับ อาศัยเอนไซน์ในตับช่วยเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอน ก่อนที่จะลงไปในลำไส้และขับถ่ายออกมาทางอุจจาระและปัสสาวะ      ดังนั้นหากมีภาวะที่มีผลในขั้นตอนใดๆของการกำจัดบิลิรูบินก็ทำให้ทารกตัว เหลืองมากกว่าปกติ
     A  ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในทารกแรกเกิดพบ ได้ในทารกทุกคนทำให้ทารกตัวเหลืองเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องได้รับการส่องไฟมัก เหลืองเมื่ออายุ 3-5 วันแล้วจะค่อยๆเหลืองน้อยลง ภาวะนี้เกิดเนื่องจาก
             1 เด็กมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กมีความเข้มข้นของเลือด 50-60% ขณะที่ผู้ใหญ่มีความเข้มข้นของเลือด 33-40 % เมื่อเม็ดเลือดครบอายุก็จะแตก
             2.เม็ดเลือดแดงในเด็กมีอายุ 90 วัน ผู้ใหญ่ 120วัน ดังนั้นเม็ดเลือดแดงจึงอายุสั้นกว่า การแตกจึงมากกว่า
เมื่อรวมทั้ง2 ข้อข้างต้นเป็นสาเหตุของตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
   Bภาวะตัวเหลืองที่ต้องได้รับการรักษา                ถ้ามีภาวะที่มีผลต่อ บิลิรูบินในขั้นตอนต่างๆจะทำให้ทารกมีภาวะตัวเหลืองมากกว่าปกติคือ
                1.มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ สาเหตุมีหลายอย่างเช่น เด็กที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอดจะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะเลือดส่วนนี้ ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่แตกเพิ่มขึ้น   ,เม็ดเลือดแดงแตกมากเนื่องจากกรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่ตรงกันพบในแม่เลือดกรุ๊ป Oและลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B และภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมากเนื่องจากโรคเลือดคือ โรค ทาลัสซีเมีย ,โรคขาดเอนไซน์G6PDในเม็ดเลือดแดง
                2.การทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ
                3.ความผิดปกติที่ลำไส้เช่นภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึม บิลิรูบินกลับเข้ากระแสเลือดแทนที่จะขับถ่ายออกไปเด็กจึงตัวเหลือง
การวินิจฉัยโรคตัวเหลือง
1.การสังเกตุสีผิว เด็กจะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยค่อยไล่ลงมาที่ลลำตัว ไปขาและเท้า ถ้าเหลืองเฉพาะใบหน้าและลำตัว ถือว่าเหลืองไม่มากแต่ถ้าลงมาขาและเท้าถือว่าเหลืองมาก เวลาดูตัวเหลืองในเด็กทารกต้องกดผิวหนังลงดูที่ส่วนที่กดจะเห็นเป็นสีเหลือง เหตุที่ต้องกดผิวหนังลงเพราะเด็กตัวแดงทำให้ดูยาก ถ้าดูแล้วเห็นว่าเหลืองไม่มากไม่จำเป็นต้องตรวจเลือด แต่ถ้าเหลืองมากต้องเจาะเลือดตรวจ
2 การเจาะเลือดตรวจระดับตัวเหลือง หรือตรวจระดับบิลิรูบินในเลือด ถ้าระดับสูงต้องรักษาโดยการส่องไฟ การเจาะเลือดนี้ สามารถเจาะจากส้นเท้าหรือเจาะจากเส้นเลือดโดยตรง
การส่องไฟ (phototherapy)
เป็น การรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กทารก เนื่องจากแสงสามารถ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบิน ซึ่งปกติละลายน้ำไม่ได้ให้กลับกลายมาเป็นสารที่ละลายน้ำได้ สามารถขับถ่าย สารนี้ได้ทางปัสสาวะและทางอุจจาระโดยออกมาทางน้ำดี  หลังจากส่องไฟจะตรวจระดับตัวเหลืองวันละ1-2 ครั้งถ้าระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถหยุดส่องไฟได้

การส่องไฟทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ในทารก
            ก. ทารกอาจจะมีสีผิวคล้ำขึ้นจากการที่ต้องถูกแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน
            ข. ทารกอาจถ่ายเหลวจากการที่แสงที่ใช้ในการรักษา ทำให้มีการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ ทำให้มีการขาด enzyme lactase เป็นการชั่วคราว และจะดีขึ้นเมื่อหยุดการรักษา
            ค. ทารกมีภาวะเสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำ เพราะว่าอุณหภูมิรอบตัวของทารกสูงขึ้น จึงจะต้องมีการทดแทนโดยให้ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม หรือโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด
            ง. ทารกอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติหรือเป็นไข้ อาจต้องเลื่อนไปให้ห่างทารก
            จ. ทารกอาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัวเป็นการชั่วคราว            

           ฉ. ถ้าไม่ได้ปิดตาทารกให้มิดชิด อาจมีการบาดเจ็บเนื่องจากถูกแสงส่องนาน ดังนั้นการดูแลทารกในช่วงที่รับการส่องไฟ ก็ควรจะปิดตาทารกให้มิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายของแสงไฟสู่ดวงตาเด็ก
ควรให้ทารกดูดนมมากๆ และบ่อยๆ เพื่องดการเสียน้ำและเพิ่มการถ่ายอุจจาระ ถ้าทารกดูดหรือรับนม ไม่ได้หรือไม่ได้ดีก็ควรจะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด โดยต้องเพิ่มปริมาณน้ำอีก 30 %ของปริมาณปกติในแต่ละวัน
นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองได้หรือไม่     ในนำนมแม่มีสารบางอย่างที่อาจทำให้ลูกตัวเหลืองได้ แต่ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจากนมแม่นั้นไม่ทำให้ลูกมีอันตราย แต่ถ้าตัวเหลืองมากจริงๆ อาจต้องได้รับการส่องไฟรักษาเช่นเดียวกัน แพทย์อาจให้งดนมแม่ 2 วันช่วงเด็กส่องไฟ หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติลูกจะไม่กลับมาตัวเหลืองอีก
ภาวะตัวเหลืองมากมีอันตรายหรือไม่
     ภาวะที่มีระดับ บิลิรูบินสูงมากเกินไปสาร นี้สามารถเข้าไปที่สมองลูกได้ ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากทำให้เด็กมีอาการทางสมองจากภาวะตัวเหลืองได้(ภาษา อังกฤษเรียกว่า KERNICTERUS) และถ้าบิลิรูบินสูงเกิน 20 อาจมีผลต่อการได้ยินของเด็กได้เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ ความสนใจและรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด



http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=357635&Ntype=5

การนอนของเด็กในแต่ละวัย

การนอนของเด็กในแต่ละวัย

อายุ           ชั่วโมงการนอน(ชั่วโมง)
1 สัปดาห์                 
16.5
1 เดือน
15.5
3 เดือน
15
6 เดือน
14.25
9 เดือน
14
1 ปี
13.75
18 เดือน
13.5
2 ปี
13
3 ปี
12
4 ปี
11.5
5-9 ปี
10-11
10-15 ปี
9-10 ชั่วโมง

 http://www.thaikidclinic.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=5&Id=534548286

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด