วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการเล่านิทาน

เทคนิคการเล่านิทาน


              เด็กเป็นวัยที่มากด้วยโลกของจินตนาการอันกว้างไกล ผู้ใหญ่มักจะเป็นผูุ้็ถ่ายทอดเรื่องราวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น เรื่องสนุกสนาน เรื่องเศร้าโศกเสียใจ เรื่องราวสะเทือนขวัญ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหรือสิ่งแวดล้อม เราจึงควรทำความเข้าใจกับการจินตนาการของเด็ก เพื่อจะสามารถเล่าหรือแต่งนิทานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ อย่างสอดคล้องกับจินตนาการและความต้องการของเด็ก
การจินตนาการของเด็กพอจะแบ่งออกได้ดังนี้
               1. จินตนาการแบบอิสระ คือจินตนาการที่เด็กไม่มีประสบการณ์รองรับเลย เด็กจะใช้ความคิดคำนึงเฉพาะตัวเป็นหลักในการตัดสิน และส่งผลต่ออารมณ์ของตนเอง
               2. จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เป็นจินตนาการของเด็กที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นหรือได้ฟัง กับของที่เคยเห็นเคยฟังมาแล้ว แบ่งได้ 3 ขั้นตอนคือ
                      ขั้นที่1 คือเมื่อเด็กไำด้ฟังสิ่งใด หรือเห็นสิ่งใดแดล้วนึกถึงสิ่งที่เคยเห็นมาก่อนหรือจินตนาการสิ่งที่เคยเห็นมก่่อน
                      ขั้นที่2 นอกจากเด็กจะเชื่อมโยงสิ่งที่ตนเห็นหรือได้ฟังกับอีกสิ่งหนึ่งแล้วเด็กยัง จินตนาการไปถึงอารมณ์หรือความมีชีวิตชีวาของสิ่งนั้นๆด้วย
                      ขั้นที่3 เป็นการจินตนาการไปถึงสิ่งเหนือจริง ของวิเศษ สิ่งมหัศจรรย์ จินตนาการขั้นนี้เป็นขั้นที่เด็กๆใฝ่ฝันอยากจะมีกันทุกคน จะสังเกตได้ว่า ถ้าเราบอกว่า"มีกบอยู่ตัวหนึ่ง"เด็กๆก็จะฟังเฉยๆ แต่ถ้าบอกว่า"มีกบวิเศษอยู่ตัวหนึ่งสามารถพ่นไฟได้ด้วย"เด็กๆก็จะทำตาโตทีเดียว

นิทานกับความต้องการของเด็ก
                ในบทที่1 เรื่องลักษณะทางจิตวิทยาเด็กที่เอื้อต่อการเขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก ได้กล่าวถึงความต้องการและความนใจของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประพันธ ์วรรณกรรมสำหรับเด็กจะพิจารณา เพื่อนเขียนเรื่องราวให้ตรงกับความต้องการของเด็ก เพราะสาเหตุที่เด็กๆชอบฟังนิทานนั้น ไม่ใช้เพราะนิทานมีโลกจินตนาการเท่านั้น แต่นิทานหลายเรื่องมีการสนองความต้องการของเด็กๆแฝงอยู่ด้วย เด็กๆมีความต้องการมากมายพอสรุปได้ดังนี้คือ
               -ต้องการความรัก
               -ต้องการให้คนอื่นสนใจ
               -ต้องการให้ความรักแก่คนอื่น
               -ต้องการเล่น
               -ต้องการกิน
               -ต้องการสิ่งวิเศษมหัศจรรย์
               -ต้องการสิ่งสวยงาม
               -ต้องการสิ่งลึกลับ
               -ต้องการความขบขัน
                จากความต้องการดีงกล่าว ทำให้เราสามารถเลือกนิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังได้ นิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังนั้น ควรเป็นนิทานที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางเนื้อหาได้อรรถรส รูปแบบการใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษา ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณภาพ ยกระดับสติปัญญาและจิตใจ

การเลือกนิทาน
                
ผู้เล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟัง จะต้องเลือกนิทานให้เป็น เพราะนิทานที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเด็กจะชอบทุกเรื่อง การเลือกนิทานควรพิจารณาสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
                1. นิทานเรื่องนั้นสนองความต้องการของเด็กได้มากน้อยเพียงไร
                2. เรื่องเล่าควรจะเลือกให้เหมาะกับวัยต่างๆของเด็ก
                3. เวลาที่ใช้ในการเล่าควรจะเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาความสนใจและสมาธิในการฟังของเด็กวัยต่างๆ
                4. เนื้้อหาจะต้องมีสาระค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณณธมและจริยธรรม
                5. มีเนื่้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม กระตุ้นจินตนาการของเด็ก
                6. เป็นวรรณกรรมที่ดีทั้งโครงเรื่อง ลักษณะที่เด่นของตัวละคร การใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ไม่เคยตาย(Timelessness)
                7. ไม่ควรสร้างความขบขันบนความเจ็บปวดของคนอื่น และไม่ใช้ภาษาหรือปฏิบัติต่อเด็ฏในเชิงตำหนิติเตียนหรือดูหมิ่น
                8. กล่าวถึงอารมณ์มนุษย์อย่างระมัดระวัง เสนอแนะวิธีการที่สร้างสรรค์แก่เด็กในการเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ

การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
                 ผู้เล่านิทานเมื่อเลือกเรื่องของนิทานให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังและพอใจกับเนื้อเรื่องแล้ว ผู้เล่าจะต้องนำนิทานที่จะเล่ามาจัดเตรียมให้พร้อมก่อนจะดำเนินการเล่าดังนี้
                 1. ผู้เล่าจะต้องอ่านทบทวนเรื่องราวที่ผู้เล่าเลือกมา ให้เกิดความคุ้นเคย เข้าใจ และรู้จักเรืองที่เลือกมาได้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้เกิดความราบรื่นตลอดขณะดำเนินการเล่าี
                 2. ขั้นตอนการเล่า ผู้เล่าจะต้องพิจารณาในการนำเสนอการขึ้นต้นเรื่อง การเล่าเรื่องต่อเนื่องจนถึงกลางเรื่อง และการจบเรื่องให้ชัดเจน และน่าสนใจตามลักษณะเฉพาะของผู้เล่า
                 3. สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่า ผุ้เล่าจะต้องเตรียม และทดลองใช้ให้เกิดความชำนาญ และจัดระบบการใช้ตามลำดับก่อนหลัง
                 4. กิจกรรมประกอบการเล่านิทาน ผู้เล่าจะต้องเตรียมให้พร้อมและจะต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น การร้องเพลงซ้ำๆ และง่าย คำพูดซ้ำๆ และง่าย การร้องขอให้ผู้ฟังมาช่วยร่วมแสดงกรือทำกิจกรรมด้วยขณะดำเนินการเล่า
                 5. สถานที่เล่า ผู้เล่าจต้องพิจารณาตามความเหมาะสมให้พอดีกับกลุ่มผู้ฟังเพราะ ผู้เล่าจะต้องจัดเตรียมสื่อให้พอเหมาะกับการมองเห็น และการฟังของผู้เล่า
                    นอกจากนี้ผู้เล่านิทานจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องอ่านนิทานซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยออกเสียงดังๆและจะต้องอ่านจนขึ้นใจในเรื่องราว ถ้อยคำ และการดำเนินเรื่อง ถ้ากลัวติดขัดขณะทำการเล่า ผู้เล่าจะต้องบันทึกย่อเพื่อกันลืม
วิธีเล่านิทาน
         
การเล่านิทานแบ่งได้ 5 วิธีได้แก่
                 1. เล่าปากเปล่า
                 2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบ
                 3. เล่าโดยใช้ภาพประกอบ
                 4. เล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัว
                 5. เล่าโดยใช้ศิลปะเข้าช่วย

                 1. เล่าปากเปล่า ผู้เล่าต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพราะจุดสนใจของเด็กที่กำลังฟังนิทานจะอยู่ที่ผู้เล่าเท่านั้น วิธีเตรียมตัวในการเล่านิทานมีดังนี้
                 1.1 เตรียมตัวด้านเนื้อหาของนิทาน
                  -อ่านนิทานที่จะเล่าและทำความเข้าใจกับนิทานเสียก่อน
                  -จับประเด็นนิทานให้ได้ว่า นิทานที่จะเล่าให้อะไรแก่เด็กที่ฟัง
                  -แบ่งขั้นตอนของนิทานให้ดี
                  -การนำเสนอขั้นตอนของนิทานในขณะที่เล่า ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่อ่านเสมอไป
                  -เพิ่มหรือลดตัวละครเพื่อความเหมาะสมในการเล่า
                 ที่สำคัญผู้เล่าต้องสามารถปรับนิทานให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กได้ด้วย เพราะถ้าเห็นว่าเด็กกำลังสนุกสนานก็เพิ่มเนื้อหาเข้าไปได้
                  1.2 น้ำเสียงที่จะเล่า
                       
ผู้เล่่าต้องมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงที่ไพเราะ และที่สำคัญที่สุดคือการเว้นจังหวะ การเน้นเสียงให้ดูน่าสนใจ ไม่ควรให้น้ำเสียงราบเรียบมากเกินไป เสียงเบา-เสียงหนัก พูดเร็ว-พูดช้า ก็เป็นการบ่งบอกอารมณ์ของนิทานได้เช่นกัน
                   1.3 บุคลิกของผู้เล่านิทานต่อหน้าเด็กจำนวนมาก
                         ต้องมีบุคลิกที่น่าสนใจสำหรับเด็กคือ
                         -ไม่นิ่งจนเกินไป
                         -ไม่หลุกหลิกจนเกินไป
                         -ต้องมีการเลคื่อนไหวท่ีเหมาะสมกับเนื้อหาของนิทาน
                         -มีการแสดงท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อหาของนิทานอย่างพอเหมาะพอเจาะ
                         -มีท่าที่ผ่อนคลายและดูเป็นกันเองกับเด็กๆ
                   1.4 เสื้อผ้าที่สวมใส่
                        ต้องเป็นเสื้อผ้าที่มั่นใจในการเคลื่อนไหว
                   1.5 บรรยากาศในการฟังนิทาน
                        ต้องไม่วุ่นวายจนเกินไป อยู่ในสถานที่ที่สามารถสร้างสมาธิสำหรับคนฟังและคนเล่าได้เป็นอย่างดี
                  2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบการเล่า การใช้หนังสือประกอบการเล่านี้ หมายถึงการใช้หนังสือที่มีภาพประกอบ ผู้ที่จะใช้หนังสือภาพต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
                 2.1 อ่านนิทานให้ขึ้นใจ เวลาเล่าจะไ้ด้เปิดหนังสือภาพให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า
                 2.2 ศึกษาความหมายของสีที่ใช้ประกอบภาพ เพราะหนังสือสำหรับเด็กมักจะใช้สีเป็นสื่ออารมณ์ของเรื่องด้วย
                 2.3 ศึกษาภาพประกอบที่เป็นปกหน้าปกหลัง เพราะบางเรื่องตอนเริ่มเรื่องอยู่ที่หน้าปก และตอนจบอยู่ที่ปกหลังก็มี
                 2.4 การถือหนังสือ ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพประกอบได้อย่างทั่วถึง ถ้าผู้ฟังนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ต้องมีการยกภาพให้มองเห็นทั่วทั้งหมด