วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารพัดเคล็ดลับปรับพฤติกรรมเด็กก้าวร้าว

รศ.พ.ญ.วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า เด็กเล็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวจะเห็นได้จากการทำลายสิ่งของหรือทำร้ายตนเอง เมื่อโกรธหรือถูกขัดใจ ดื้อ ไม่เชื่อฟังคำสั่ง ตีน้อง ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็กในวัยเด็กเล็ก แต่ถ้าหากเราปล่อยปละละเลยโดยไม่สอนหรือฝึกทักษะให้เด็กรู้จักวิธีควบคุม อารมณ์และจัดการกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เด็กอาจกลายเป็นคนชอบใช้ความรุนแรง เป็นพวกอันธพาล ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาสังคมในอนาคต

วิธีจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูกนั้น สามารถปฏิบัติได้โดยการใช้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและ สามารถแก้ไขพฤติกรรมได้ โดยเฉพาะในเด็กยิ่งเล็กการให้เหตุผลต้องสั้น เข้าใจง่าย เช่น มีดเล่นไม่ได้เพราะจะบาดมือหนู นอกจากนี้ท่าทีที่หนักแน่นและจริงใจของผู้ใหญ่ก็มีความสำคัญอย่างมาก

รศ.พ.ญ.วันเพ็ญ กล่าวว่าเวลาที่ผู้ใหญ่ให้ทำอะไรแล้วเด็กมักดื้อ ไม่ยอมทำตาม วิธีการหนึ่งที่ได้ผลคือต้องพูดให้หนักแน่นและจริงจังว่าให้ทำเดี๋ยวนี้ อาจต้องใช้ท่าทีประกอบด้วย เช่น ลุกขึ้นจูงมือเด็กให้ไปทำในสิ่งที่ต้องทำ ในส่วนของการให้สิ่งทดแทนก็สำคัญเหมือนดังเช่นเวลาที่ห้ามเด็กทำสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง เช่น เด็กเล่นของแหลมอยู่ถ้าจะเอาจากมือเด็กก็ให้เอาของอื่นที่น่าสนใจกว่ามาให้ เด็กแทน และไม่ควรหยิบของแหลมจากมือเด็กไปเฉยๆ ซึ่งเด็กรู้สึกถูกขัดใจอย่างรุนแรงก็จะร้องอาละวาดต่อ หรือเช่นเห็นเด็กขีดเขียนฝาผนังบ้านอยู่ถ้าจะห้ามทำก็ควรหากระดาษมาให้เด็กเขียนแทน

การให้เด็กแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกเป็นเรื่องจำเป็น ควรให้เด็กรู้สึกว่าเมื่อเขามีความคิดเห็นอย่างไรก็สามารถพูดออกมาได้อย่าง อิสระ อีกทั้งควรให้รางวัลเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้พฤติกรรมที่เหมาะ สมนั้นคงอยู่ต่อไป รางวัลอาจจะเป็นคำชมเชยเพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจที่จะทำพฤติกรรมนั้นๆ อีก เป็นธรรมดาของเด็กทุกคนที่ต้องการได้รับความสนใจจากบุคคลอื่น

เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่อาจใช้วิธีเลิกสนใจขณะที่เด็กกระทำพฤติกรรมนั้น และให้ความสนใจหรือให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พ่อแม่เห็นว่าเหมาะสม อย่างไรก็ตามการสอนเด็กเล็กๆ นั้นพ่อแม่ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกเพราะเด็กจะเอาเป็นแบบอย่าง และจะจดจำการกระทำของผู้ใหญ่มากกว่าการสั่งสอนด้วยวาจาหรือการลงโทษ และถ้าจำเป็นต้องลงโทษเด็กต้องไม่ทำด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด หรือไม่ชอบเด็ก เพราะจะทำให้เด็กยิ่งต่อต้านมากขึ้น ทั้งนี้ต้องอธิบายเหตุของการทำโทษให้เด็กคนนั้นทราบว่าเพราะอะไรเขาจึงถูกทำโทษ

ที่มา: http://news.sanook.com/lifestyle/lifestyle_140003.php

เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมพ่อแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และวิธีการลงโทษควรใช้เหตุผลมากกว่าการดุด่าหรือตีเพราะจะทำให้เด็กต่อต้านมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น